วันอาทิตย์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2552

>>>สัปดาห์ที่ 16 <<<

บริการซ่อมคอมพิวเตอร์ภายในวิทยาลัยเทคนิคสมุทรสงครามหาคำศัพท์ 10 คำ พร้อมคำแปลและท่องคำศัพท์ ให้อาจารย์ฟังทั้ง 10 คำ

>>> สัปดาห์ที่ 15 <<< รายงานหน้าชั้น

เรื่อง what is computer ?


สัปดาห์ที่ 14 ลง Windows XP











สัปดาห์ที่ 13 present งาน




สัปดาห์ที่ 12 Windows Xp

ส่วนประกอบของ Windows XP
-เดสก์ทอป (Desktop)-Taskbar-เมนู Start (Start Menu)
การใช้งานโปรแกรม
การเรียกใช้งานต่างๆ ที่อยู่ในเครื่อง ให้คลิกที่ปุ่ม Start แล้วเลื่อนเมาส์ไปที่ All Programs จะปรากฏโปรแกรมที่มีอยู่ในเครื่อง
หน้าต่าง (Windows)
1. ไตเติลบาร์ (Title bar) แสดงชื่อของโปรแกรมที่ใช้งานอยู่2. เมนูบาร์ (Menu Bar) แสดงเมนูของโปรแกรมใช้ในการเลือกคำสั่ง3. แถบเครื่องมือ (Toolbar) เป็นรูปภาพเล็ก ๆ แทนคำสั่งใช้งานต่าง ๆ4. แถบตำแหน่ง (Addressbar) แสดงตำแหน่ง ณ ขณะนั้น5. มินิไมซ์ (minimize) ปุ่มลดขนาดหน้าต่างหรือปิดหน้าต่าง6. แมกซิไมซ์ (Maximize) ขยายหน้าต่างให้เต็มจอ7. ปุ่มปิดโปแกรม (Close) ใช้ในการปิดโปรแกรม8. ไอคอน (Icon) คือ รูปสัญลักษณ์ที่ใช้เรียกโปรแกรม9. แถบเลื่อน (Scroll Bar) ใช้ในการเลื่อนหน้าจอไปซ้าย ขวา ขึ้นลงตามทิศทางลูกศร10. แถบสถานะ (Status Bar) แสดงสถานะการทำงานWindows Explorer
Windows Explorer คือโปรแกรมที่ Microsoft Windows XP จัดหามาให้เพื่อใช้สำหรับการจัดการในเรื่องของดิสก์ ไฟล์ และโฟลเดอร์ เราสามารถเรียกใช้โปรแกรม Windows Explorer โดยการคลิกที่ปุ่ม Start > All Program > Accessories > Windows Explorerหรือนำเมาส์ไปชี้ที่ปุ่ม Start คลิกเมาส์ขวาจะปรากฏเมนูย่อยขึ้นมา แล้วคลิกคำสั่ง “Explore”
ส่วนประกอบของ Windows ExplorerA. Menu Bar ส่วนในการเลือกคำสั่งของโปรแกรมB. Toolbar ส่วนไอคอนที่เป็นรูปภาพ ทำให้การเรียกงานใช้สะดวกขึ้นC. ส่วนแสดงโครงสร้าง เป็นส่วนที่แสดงโครงสร้างของโฟลเดอร์ที่จัดไว้ในระบบD. ส่วนแสดงรายชื่อไฟล์ เป็นส่วนที่แสดงรายชื่อไฟล์และโฟลเดอร์ย่อย (ถ้ามี) ของโฟลเดอร์ที่เลือกไว้ในส่วนแสดงโครงสร้างขณะนั้น

>>> สัปดาห์ที่ 11 <<< งานกลุ่มและเดียว

1. งานที่ POWER Point เรื่องไข้หวัด2009 (เดียว)2. รายงาน เรื่องการติดตั้ง Windows XP โดยแบ่งงานเท่าๆๆกันไปพิม (กลุ่ม)3. ดำเนินการทำPOWER Point เรื่องการติดตั้ง Windows XP โดยสรุป ไม่เกิน20 เฟรม(กลุ่ม)

วันพุธที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

สัปดาห์ที่ 10 วันที่ 16 กรกฎาคม 2552

การทำงานของฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk)

เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับเก็บข้อมูลต่าง ๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมที่มีเปลือกนอก เป็นโลหะแข็ง และมีแผงวงจรสำหรับการควบคุมการทำงานประกบอยู่ที่ด้านล่าง พร้อมกับช่องเสียบสายสัญญาณและสายไฟเลี้ยง ส่วนประกอบภายในจะถูกปิดผนึกไว้อย่างมิดชิด โดยจะเป็นแผ่นดิสก์และหัวอ่านที่บอบบางมาก และไม่ค่อยจะทนต่อการกระทบ กระเทือนได้ ดังนั้น จึงควรที่จะระมัดระวังเป็นอย่างยิ่ง เวลาจัดถือไม่ควรให้กระแทกหรือกระเทือน และระมัดระวังไม่ให้มือโดน อุปกรณ์อื่น ๆ ที่อยู่บนแผงวงจร โดยปกติ ฮาร์ดดิสก์ มักจะบรรจุอยู่ในช่องที่เตรียมไว้เฉพาะภายในเครื่อง โดยจะมีการต่อสาย สัญญาณเข้ากับตัวควบคุมฮาร์ดดิสก์ และสายไฟเลี้ยงที่มาจากแหล่งจ่ายไฟด้วยเสมอ ในที่นี้ จะขอแนะนำให้รู้จักกับ ฮาร์ดดิสก์ แบบต่าง ๆ ในเบื้องต้น พอเป็นพื้นฐานในการทำความรู้จักและเลือกซื้อมาใช้งานกัน
ชนิดของ ฮาร์ดดิสก์ แบ่งตามอินเตอร์เฟสที่ต่อใช้งาน
ปัจจุบันนี้ ฮาร์ดดิสก์ที่มีใช้งานทั่วไป จะมีระบบการต่อใช้งานแบ่งออกเป็น 2 แบบใหญ่ ๆ คือ EIDE (Enhanced Integrated Drive Electronics) กับ SCSI (Small Computer System Interface) ซึ่งฮาร์ดดิสก์ทั่ว ๆ ไปที่ใช้งานกันตาม เครื่องคอมพิวเตอร์ตามบ้าน มักจะเป็นการต่อแบบ EIDE ทั้งนั้น ส่วนระบบ SCSI จะมีความเร็วของการรับส่ง ข้อมูลที่เร็วกว่า แต่ราคาของฮาร์ดดิสก์จะแพงกว่ามาก จึงนิยมใช้กันในเครื่อง Server เท่านั้น
EIDE หรือ Enhance IDE เป็นระบบของ ฮาร์ดดิสก์อินเตอร์เฟสที่ใช้กันมากในปัจจุบันนี้ การต่อไดร์ฟฮาร์ดดิสก์แบบ IDE จะต่อผ่าน สายแพรและคอนเน็คเตอร์จำนวน 40 ขาที่มีอยู่บนเมนบอร์ด ชื่อเรียกอย่างเป็นทางการของการต่อแบบนี้คือ AT Attachment หรือ ATA ต่อมาได้มีการพัฒนาไปเป็นแบบย่อยอื่น ๆ เช่น ATA-2, ATAPI, EIDE, Fast ATA ตลอดจน ATA-33 และ ATA-66 ในปัจจุบัน ซึ่งถ้าหากเป็นแบบ ATA-66 แล้วสายแพรสำหรับรับส่งสัญญาณ จะต้องเป็นสายแพรแบบที่รองรับการทำงานนั้นด้วย จะเป็นสายแพรที่มีสายข้างใน 80 เส้นแทนครับ ส่วนใหญ่แล้วใน 1 คอนเน็คเตอร์ จะสามารถต่อฮาร์ดดิสก์ได้ 2 ตัวและบนเมนบอร์ด จะมีคอนเน็คเตอร์ให้ 2 ชุด ดังนั้น เราสามารถต่อฮาร์ดดิสก์หรืออุปกรณ์อื่น ๆ เช่นซีดีรอมไดร์ฟ ได้สูงสุด 4 ตัวต่อคอมพิวเตอร์ 1 เครื่อง
วิธีการรับส่งข้อมูลของฮาร์ดดิสก์แบบ EIDE ยังแบ่งออกเป็นหลาย ๆ แบบ ในสมัยเริ่มต้น จะเป็นแบบ PIO (Programmed Input Output) ซึ่งเป็นการรับส่งข้อมูลโดยผ่านซีพียู คือรับข้อมูลจากฮาร์ดดิสก์ เข้ามายังซีพียู หรือส่งข้อมูลจากซีพียูไปยัง ฮาร์ดดิสก์ การรับส่งข้อมูลแบบ PIO นี้ยังมีการทำงานแยกออกไปหลายโหมด โดยจะมีความเร็วในกรรับส่งข้อมูลต่าง ๆ กันไป ดังตารางต่อไปนี้
PIO mode อัตราการรับส่งข้อมูล (MB./sec) อินเตอร์เฟส 0 3.3 ATA 1 5.2 ATA 2 8.3 ATA 3 11.1 ATA-2 4 16.6 ATA-2
การรับส่งข้อมูลระหว่าง ฮาร์ดดิสก์ กับเครื่องคอมพิวเตอร์อีกแบบหนึ่ง เรียกว่า DMA (Direct Memory Access) คือทำการ รับส่งข้อมูลระหว่างฮาร์ดดิสก์ กับหน่วยความจำโดยไม่ผ่านซีพียู ซึ่งจะกินเวลาในการทำงานของซีพียูน้อยลง แต่ได้อัตราการรับส่ง ข้อมูลพอ ๆ กับ PIO mode 4 และยังแยกการทำงานเป็นหลายโหมดเช่นเดียวกันการรับส่งข้อมูลทาง PIO โดยมีอัตราการรับส่ง ข้อมูลดังตารางต่อไปนี้
DMA mode อัตราการรับส่งข้อมูล (MB./sec) อินเตอร์เฟส
Single Word
0 2.1 ATA
1 4.2 ATA
2 8.3 ATA
Multi Word
0 4.2 ATA
1 13.3 ATA-2
2 16.6 ATA-2
ฮาร์ดดิสก์ตัวหนึ่งอาจเลือกใช้การรับส่งข้อมูลได้หลายแบบ ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลักคือ ฮาร์ดดิสก์ที่ใช้นั้นสนับสนุนการทำงานแบบใดบ้าง ชิปเซ็ตและ BIOS ของเมนบอร์ดต้องสนับสนุนการทำงานในแบบต่าง ๆ และอย่างสุดท้านคือ ระบบปฏิบัติการบางตัว จะมีความสามารถเปลี่ยนหรือเลือกวิธีการรับส่งข้อมูลในแบบต่าง ๆ ได้ เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในการทำงาน เช่น Windows NT, Windows 98 หรือ UNIX เป็นต้น
ถัดจาก EIDE ในปัจจุบันก็มีการพัฒนามาตราฐานการอินเตอร์เฟส ที่มีความเร็วสูงยิ่งขึ้นไปอีก คือแบบ Ultra DMA/2 หรือเรียกว่า ATA-33 (บางทีเรียก ATA-4) ซึ่งเพิ่มความเร็วขึ้นไป 2 เท่าเป็น 33 MHz และแบบ Ultra DMA/4 หรือ ATA-66 (หรือ ATA-5) ซึ่งกำลังเป็นมาตราฐานอยู่ในปัจจุบัน โดยมีรายละเอียดดังนี้
DMA mode อัตราการรับส่งข้อมูล (MB./sec) อินเตอร์เฟส
Ultra DMA/2
(UDMA2 หรือ UDMA/33) 33.3 ATA-33 (ATA-4)
Ultra DMA/4
(UDMA4 หรือ UDMA/66) 66.6 ATA-66 (ATA-5)
นอกจากนี้ ปัจจุบันเริ่มจะเห็น ATA-100 กันบ้างแล้วในฮาร์ดดิสก์รุ่นใหม่ ๆ บางยี่ห้อ
SCSI เป็นอินเตอร์เฟสที่แตกต่างจากอินเตอร์เฟสแบบอื่น ๆ มาก ความจริงแล้ว SCSI ไม่ได้เป็น อินเตอร์เฟสสำหรับ ฮาร์ดดิสก์ โดยเฉพาะ ข้อแตกต่างที่สำคัญที่สุดได้แก่ อุปกรณ์ที่จะนำมาต่อกับอินเตอร์เฟสแบบนี้ จะต้องเป็นอุปกรณ์ที่มีความฉลาดหรือ Intelligent พอสมควร (มักจะต้องมีซีพียู หรือหน่วยความจำของตนเองในระดับหนึ่ง) โดยทั่วไป การ์ดแบบ SCSI จะสามารถต่อ อุปกรณ์ได้ 7 ตัว แต่การ์ด SCSI บางรุ่นอาจต่ออุปกรณ์ได้ถึง 14 ตัว (SCSI-2) ในทางทฤษฎีแล้ว เราสามารถนำอุปกรณ์หลายชนิด มาต่อเข้าด้วยกันผ่าน SCSI ได้เช่น ฮาร์ดดิสก์ เทปไดร์ฟ ออปติคัลดิสก์ เลเซอร์พรินเตอร์ หรือแม้กระทั่งเมาส์ ถ้าอุปกรณ์เหล่านั้น มีอินเตอร์เฟสที่เหมาะสม มาดูความเร็วของการรับส่งข้อมูลของ SCSI แบบต่าง ๆ กันดีกว่า
SCSI Fast Wide Fast Wide Ultra Ultra
Wide Ultra 2 Ultra 3
(Ultra160)
บัสข้อมูล (บิต) 8 8 19 16 32 16 32 16 32
ความถี่ (MHz) 5 10 5 10 10 20 20 40 40
รับส่งข้อมูล (MB/s) 5 10 10 20 40 40 80 80 160
คอนเน็คเตอร์ SCSI-1 SCSI-2 SCSI-2 SCSI-2 SCSI-2 SCSI-3 SCSI-3 SCSI-3 SCSI-3
ประสิทธิภาพของฮาร์ดดิสก์ขึ้นอยู่กับอะไรบ้าง
ความเร็วในการทำงานของฮาร์ดดิสก์ ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างเช่น ความเร็งในการหมุน กลไกภายใน ความจุข้อมูล ชนิดของ คอนโทรลเลอร์ ขนาดของบัฟเฟอร์ และระบบการเชื่อต่อที่ใช้เป็นต้น ฮาร์ดดิสก์ที่มีกลไกที่เคลื่อนที่เร็วที่สุดเพียงอย่างเดียว อาจจะไม่ใช่ฮาร์ดดิสก์ที่มีประสิทธิภาพดีที่สุดก็ได้
ความเร็วในการหมุนของฮาร์ดดิสก์
ความเร็วในการหมุนของดิสก์ เป็นสิ่งที่มีผลกับความเร็วในการอ่านและบันทึกข้อมูลมากทีเดียว ฮาร์ดดิสก์ทั่วไป ถ้าเป็นรุ่นธรรมดา จะหมุนอยู่ที่ประมาณ 5,400 รอบต่อนาที (rpm) ส่วนรุ่นที่เร็วหน่อยก็จะเพิ่มเป็น 7,200 รอบต่อนาที ซึ่งถือเป็นมาตราฐาน อยู่ในขณะนี้ และถ้าเป็นรุ่นใหญ่หรือพวก SCSI ในปัจจุบันก็อาจถึง 10,000 รอบหรือมากกว่านั้น ฮาร์ดดิสก์ที่หมุนเร็ว ก็จะสามารถ อ่านข้อมูลในแต่ละเซ็คเตอร์ได้เร็วกว่าตามไปด้วย ทำให้ความเร็วการรับส่งข้อมูลภายใน มีค่าสูงกว่า ฮาร์ดดิสกที่หมุนมากรอบกว่า ก็อาจมีเสียงดัง ร้อน และสึกหรอมากกว่า แต่โดยรวมทั่วไปแล้ว หากราคาไม่เป็นข้อจำกัด ก็ควรเลือกฮาร์ดดิสก์ที่หมุนเร็ว ๆ ไว้ก่อน
อินเตอร์เฟสของฮาร์ดดิสก์
ดังที่อธิบายแล้วว่า ฮาร์ดดิสก์อินเตอร์เฟสที่นิยมใช้งานกันมากที่สุดสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันได้แก่ แบบ ATA-33 และ ATA-66 ซึ่งมีอัตราการรับส่งข้อมูลที่สูงกว่าแบบเก่า หากต้องการอัตราการรับส่งข้อมูลที่เร็วกว่านี้ ก็ต้องเลือกอินเตอร์เฟสแบบ SCSI ซึ่งจะมีข้อดีคือ มีความเร็วสูงกว่าแบบ EIDE มากและยังสามารถต่ออุปกรณ์ต่าง ๆ ได้ถึง 7 ตัวด้วยกัน โดยที่ราคาก็ยังคงจะ แพงกว่าแบบ EIDE ด้วย จะเหมาะสำหรับงานที่ต้องใช้ความเร็วสูงเช่น Server ของระบบ LAN เป็นต้น
ประเด็นสำคัญของการต่อฮาร์ดดิสก์แบบ IDE ก็คือ แต่ละสายที่ต่อออกมานั้น ตามปกติจะต่อได้ 2 ไดร์ฟ โดยฮาร์ดดิสก์ ที่อยู่บนสาย คนละเส้นจะทำงานพร้อมกันได้ แต่ถ้าอยู่บนสายเส้นเดียวกันจะต้องทำทีละตัว คือไม่ทำงานกับ Master ก็ Slave ตัวเดียวเท่านั้น ในเวลาหนึ่ง ๆ และหากเป็นอุปกรณ์ที่ทำการรับส่งข้อมูลคนละแบบบนสายเดียวกัน เช่นการต่อฮาร์ดดิสก์แบบ UltraDMA/66 ร่วมกับซีดีรอมแบบ PIO mode 4 อุปกรณ์ทุกตัวบนสายเส้นนั้น ก็จะต้องทำตามแบบที่ช้ากว่า ดังนั้น จึงไม่ควรต่อฮาร์ดดิสก์ที่เร็ว ๆ ไว้กับซีดีรอมบนสายเส้นเดียวกัน เพราะจะทำให้ฮาร์ดดิสก์ช้าลงตามไปด้วย
หน่วยความจำ แคช หรือ บัฟเฟอร์ ที่ใช้
อีกวิธีที่ผู้ผลิตฮาร์ดดิสก์ ใช้เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของฮาร์ดดิสก์ในปัจจุบัน คือการใช้หน่วยความจำแคช หรือบัฟเฟอร์ (Buffer) เพื่อเป็นที่พักข้อมูลก่อนที่จะส่งไปยัง คอมโทรลเลอร์บนการ์ด หรือเมนบอร์ด แคชที่ว่านี้จะทำงานร่วมกับฮาร์ดดิสก์ โดยในกรณีอ่านข้อมูล ก็จะอ่านข้อมูลจากฮาร์ดดิสก์ ในส่วนที่คาดว่าจะถูกใช้งานต่อไปมาเก็บไว้ล่วงหน้า ส่วนในกรณีบันทึกข้อมูล ก็จะรับข้อมูลมาก่อนเพื่อเตรียมที่จะเขียนลงไปทันที ที่ฮาร์ดดิสก์ว่าง แต่ทั้งหมดนี้จะทำอยู่ภายในตัวฮาร์ดดิสก์เอง โดยไม่เกี่ยวข้องกับซีพียูหรือแรมแต่อย่างใด
หน่วยความจำหรือแคชนี้ ในฮาร์ดดิสก์รุ่นราคาถูกจะมีขนาดเล็ก เช่น 128KB หรือบางยี่ห้อก็จะมีขนาด 256-512KB แต่ถ้าเป็นรุ่นที่ราคาสูงขึ้นมา จะมีการเพิ่มจำนวนหน่วยความจำนี้ไปจนถึง 2MB เลยทีเดียว ซึ่งจากการทดสอบพบว่า มีส่วนช่วย ให้การทำงานกับฮาร์ดดิสก์นั้นเร็วขึ้นมาก ถึงแม้กลไกการทำงานของฮาร์ดดิสก์รุ่นนั้น ๆ จะช้ากว่าก็ตาม แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับลักษณะการทำงานของโปรแกรมด้วย
ปัจจัยอื่น ๆ ในการเลือกซื้อฮาร์ดดิสก์
หลังจากที่ได้พอจะรู้จักกับฮาร์ดดิสก์แบบต่าง ๆ กันแล้ว หากต้องการซื้อฮาร์ดดิสก์ที่จะนำมาใช้งานสักตัว ปัจจัยต่าง ๆ ด้านบนนี้ น่าจะเป็นตัวหลักในการกำหนดรุ่นและยี่ห้อของฮาร์ดดิสก์ที่จะซื้อได้ แต่ทั้งนี้ ไม่ควรที่จะมองข้ามปัจจัยอื่น ๆ เหล่านี้ไปด้วย
ความจุของข้อมูล ยิ่งฮาร์ดดิสก์ที่มีความจุมาก ราคาก็จะแพงขึ้นไป เลือกให้พอดีกับความต้องการแต่ไปเน้นเรื่องความเร็วดีกว่าครับ เช่นหากมีขนาด 15G 7,200 rpm กับ 20G 5,400 rpm ที่ราคาใกล้เคียงกัน ผมมอลว่าน่าจะเลือกตัว 15G 7,200 rpm ดีกว่า
ความทนทานและการรับประกันอย่าลืมว่า ฮาร์ดดิสก์ เป็นอุปกรณ์ที่ต้องทำงานตลอดเวลา มีการเคลื่อนไหวต่าง ๆ มากมายอยู่ภายในและโอกาสที่จะเสียหายมีได้มาก โดยเฉพาะเรื่องของความร้อนและการระบายความร้อนที่ไม่ดีในเครื่อง ก็เป็นสาเหตุสำคัญของการเสียหาย นอกจากนี้ การเกิด แรงกระแทกแรง ๆ ก็เป็นสาเหตุหลักของ การเสียหายที่พบได้บ่อย ดังนั้น ปัจจัยที่ค่อนข้างสำคัญในการเลือกซื้อฮาร์ดดิสก์ คือ เรื่องระยะเวลาในการรับประกันสินค้า และระยะเวลาในการส่งเคลม ว่าจะช้าหรือเร็วกว่าจะได้ของกลับคืนมาใช้งาน รวมทั้งร้านค้า ที่เราไปซื้อด้วย ที่ในบางครั้ง เวลาซื้อสินค้า จะบอกว่าเปลี่ยนได้ เคลมเร็ว แต่เวลาที่มีปัญหาจริง ๆ ก็จะไม่ค่อยยอมเปลี่ยนสินค้าให้เราแบบง่าย ๆ

วันพุธที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

สัปดาห์ที่ 9 วันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ.2552

เมนบอร์ด



เมนบอร์คืออะไรเมนบอรด์ (Mainboard) หรือบางคนเรียกว่า มาร์เธอร์บอร์ด (Motherboard ) พูดง่ายๆ ก็คือ เป็นแผงวงจรขนาดใหญ่ ซึ่งมีการเชื่อมต่อวงจรต่างๆ สำหรับอุปกรณ์หลายๆ ตัวเข้าด้วยกัน ดังตัวอย่างรูปภาพวิธีการเลือกซื้อ การเลือกซื้อเมนบอร์ดแต่ละครั้งนั้นสิ่งที่เราต้องดูมีอะไรบ้าง
*1. รูปแบบของเมนบอร์ด เป็นเมนบอร์ดแบบไหน โดยเขาแบ่งเป็น AT , ATX , MicroATX ,FlexATX สำหรับเมนบอร์ดรุ่นเก่าๆ นั้นเป็นแบบ ATA โดยพอร์ตหลายๆ อย่างต้องใช้สายเชื่อมต่ออีกครั้งหนึ่ง ต่อมาได้รับการปรับปรุงใหม่ให้เป็นแบบ ATX ที่เราใช้กันในปัจจุบันนี้ โดยคำนึงถึงการไหลเวลาของข้อมูลต่างๆ มากขึ้น โดยปรับให้มีการส่งข้อมูลได้เร็วกว่าเดิม พอร์ตต่างๆ มีการเปลี่ยนตำแหน่งจากเดิม โดยติดตั้งไว้แบบตายตัว ส่วน MicroATX กับ FlexATX นั้นเป็นเมนบอร์ดแบบ ATX ที่มีขนาดเล็ก โดยได้ตัดพอร์ตหลายๆ อย่างที่ไม่จำเป็นออกไป ทำให้มีขนาดเล็ก ออกแบบมาสำหรับเคสที่มีขนาดเล็ก และพีซีที่เน้นเรื่องพื้นที่ ส่วนการใช้งานต่างๆ ก็เหมือนเมนบอร์ดทั่วๆ ไป แต่มีข้อจำกัดในการอัพเกรดเครื่องเล็กน้อย เพราะว่าได้ตัดสล็อตต่างๆ ออกไปแล้ว แถมสล็อตสำหรับใส่หน่วยความจำก็มีน้อยด้วย ส่วนใหญ่จะมีแค่ 1 - 2 สล็อตATX FlexATX
*2. ซ็อกเก็ต / สล็อต (Socket /Slot )ซ็อกเก็ต หรือสล็อตเป็นที่สำหรับใส่ซีพียู สาเหตุที่มีทั้งซ็อกเก็ต และสล็อต ก็คือ มีซีพียูอยู่หลายๆ แบบด้วยกัน ที่ใส่ซีพียูก็เลยต่างกันไป ซ็อกเก็ตมีหลายแบบ - ซ็อกเก็ต 7 สำหรับซีพียูเพนเทียม หรือเอเอ็มดี รุ่นเก่าๆ - ซ็อกเก็ต 370 ออกแบบมาสำหรับซีพียูเซลเลอรอน และเพนเทียมทรี รุ่นใหม่ที่ใช้แพ็กเกจแบบ FC-PGA- ซ็อกเก็ต 462 หรือ ซ็อกเก็ต A สำหรับซีพียูดูรอน และแอธลอน- ซ็อกเก็ต 423 สำหรับเพนเทียมโฟร์ - ซ็อกเก็ต 478 สำหรับเพนเทียมโฟร์ตัวล่าสุด- สล็อต 1 สำหรับเซลเรอลอนรุ่นเก่าๆ แล้วก็ซีพียูเพนเทียม ทู- สล็อต A สำหรับซีพียูแอธลอน - สล็อต 2 สำหรับซีพียู Intel? Pentium? II/III Xeon ใช้กับเซิรฟ์เวอร์สำหรับปัจจุบันนี้ที่เรานิยมใช้กันก็คือ ซ็อกเก็ต 370 และซ็อกเก็ต A เนื่องจากมีซีพียูที่ใช้ซ็อกเก็ตทั้งสองแบบนี้ออกมาถล่มตลาดอย่างต่อเนื่องคือ เซลเรอลอน , เพนเทียมทรี , ดูรอน และแอธลอน ส่วนเพนเทียมโฟร์ นั้นยังไม่ค่อยนิยม เนื่องจากราคาแพง และประสิทธิภาพในการทำงานนั้นถ้าเทียบกับราคาแล้วยังถือว่าไม่คุ้มเมื่อนำมาใช้งานทั่วๆ ไป
*3. ชิปเซ็ต (Chipset) หัวใจของเมนบอร์ดชิปเซ็ตคืออะไร ชิปเซ็ตก็เป็นชิปสำหรับควบคุมการทำงานต่างๆ ของเมนบอร์ด เช่น ควบคุมระบบบัสของซีพียู หน่วยความจำ ระบบบัสของสล็อต รวมถึงการไหลเวียนของข้อมูลจากพอร์ตต่างๆ โดยชิปเซ็ตหลักๆ จะแบ่งเป็น Northbridge และ Southbridge แต่ละตัวจะแบ่งหน้าที่การทำงานอย่างชัดเจน สังเกตจากเมนบอร์ดจะมีชิปเซ็ตติดตั้งอยู่ 2 ที่ด้วยกัน แต่เมนบอร์ดบางรุ่นก็ติดตั้งชิปเซ็ตมาตัวเดียว หรือเราเรียกกันว่า Single Chip โดยจะทำหน้าที่เป็นทั้ง Northbridge และ Southbridge ซึ่งส่วนใหญ่ออกแบบมาใช้กับเมนบอร์ดที่มีขนาดเล็กประเภท FlexATX หรือ MicroATXชิปเซ็ตที่นิยมมาติดตั้งบนเมนบอร์ดก็มีเยอะ เช่น VIA , Intel , ALI , AMD เป็นต้น สำหรับชิปเซ็ตตัวไหนดีไม่ดียังไง คงต้องดูจากสเปกที่เมนบอร์ดจะระบุมาให้อยู่แล้ว โดยแต่ละตัวก็จะมีข้อดีแตกต่างกันไป-North Bridge ต้องติดต่อกับอุปกรณ์ความเร็วสูงหลายอย่าง ได้แก่ CPU, Memory(100 Mhz. ขึ้นไป), AGP, PCI Express และส่งสัญญาน ที่ความเร็วน้อยกว่าครึ่งหนึ่งมา Control Chip South Bridge-South Bridge ทำงานที่ความเร็วต่ำกว่า โดยติดต่อกับ PCI, IDE Controller, Network Device, USB Device , Floppy Disk Controller , Super I/O และ Memory (66-100 Mhz.)
*4. สล็อตสำหรับหน่วยความจำชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าเป็นสล็อตสำหรับใส่หน่วยความจำนั่นเอง โดยจะแตกต่างกันไปตามแต่ว่าเมนบอร์ดแต่ละตัวสนับสนุนหน่วยความจำแบบใหม่ ในปัจจุบันนี้หน่วยความจำที่เราใช้ๆ กันก็มี SDRAM , DDR RAM ,RAMBUS นั่นเอง แต่ละแบบสล็อตก็จะแตกต่างกันไป
*5. สล็อตสำหรับเพิ่มเติมอุปกรณ์ต่างๆเป็นสล็อตที่ติดตั้งอยู่บนเมนบอร์ด ออกแบบมาให้เราใส่การ์ดเพิ่มเติมเข้าไป เช่น การ์ดเสียง การ์ดแสดงผล หรือการ์ดตัดต่อวิดีโอ โมเด็ม ต่างๆ สำหรับสล็อตบนเมนบอร์ดในปัจจุบันประกอบด้วยISA (Industry Standard Architecture ) เป็นสล็อตแบบเก่า ทำงานแบบ 16 บิต ตอนนี้บนเมนบอร์ดจะเหลือแค่ 1 - 2 สล็อตเท่านั้น บางรุ่นตัดทิ้งไปเลยก็มี เพราะอุปกรณ์ที่ออกมาในระยะหลังไม่มีการใช้สล็อตแบบนี้แล้วPCI (Peripheral Component Interconnect) เป็นสล็อตที่ได้รับการพัฒนาให้มีความเร็วในการทำงานมากยิ่งขึ้น โดยสามารถทำงานแบบ 32 บิต ปัจจุบันนี้ได้รับความนิยมมากที่สุด และผู้ผลิตอุปกรณ์ต่างๆ ก็ออกผลิตภัณฑ์ที่ใช้สล็อตแบบนี้มามากมาย เช่น โมเด็ม การ์ดตัดต่อวิดีโอ ซาวน์ดการ์ด เป็นต้นAGP (Accelerated Graphics Port) ออกแบบมาสำหรับการ์ดแสดงผลโดยเฉพาะ โดยจุดเด่นของสล็อตแบบนี้ก็คือความเร็วนั่นเอง โดยจะแบ่งเป็นความเร็วในระดับ 1,2,4X โดยปัจจุบันการ์ดส่วนใหญ่จะสนับสนุน AGP โหมด 4X อยู่แล้ว โดย AGP จะทำงานแบบ 32 บิตที่ 66 เมกะเฮิรตซ์ โดยมีความเร็วในการถ่านโอนข้อมูลสำหรับโหมด 1X ที่ 266 เมกะบิตต่อวินาที 2X ที่ 533 เมกะบิตต่อวินาที ส่วน 4X ที่ 1.07 กิกะบิตต่อวินาทีCNR (Communication and Networking Riser). สล็อต CNR นี้ออกแบบโดย อินเทล ซึ่งเป็นสล็อตที่ออกแบบมาสำหรับอุปกรณ์โฮมเน็ตเวิร์ก ซึ่งได้รวมระบบแลน ออดิโอโมเด็ม เข้าไว้ด้วยกันเพื่อประหยัดต้นทุนในการผลิตการ์ดนั่นเอง โดยในขณะนี้เมืองไทยเรายังไม่นิยมใช้สล็อตแบบนี้ และยังหาอุปกรณ์ที่สนับสนุนสล็อต CNR ได้ยากAMR (Audio Modem Riser) เป็นสล็อตที่ออกแบบมาสำหรับอุปกรณ์ที่เราเรียกว่าออดิโอโมเด็ม เป็นโมเด็มที่มีขนาดเล็ก ซึ่งได้รวมเอาความสามารถในเรื่องของเสียงเอาไว้ด้วยโดยใส่ไว้ใน codecchip ทำให้เราประหยัดสล็อตอีกด้วย เพราะไม่ต้องทำการ์ดหลายๆ ตัว ทำให้มีสล็อตเหลือสำหรับอุปกรณ์อื่นๆ แต่ในขณะนี้ในเมืองไทยยังไม่นิยมใช้กันมากนัก
*6. พอร์ตต่างๆพอร์ตต่างๆ ที่ว่านี้ก็คือ พอร์ตที่อยู่ทางด้านหลังเครื่อง มีไว้สำหรับต่อกับอุปกรณ์ต่างๆ เช่น คียบอร์ด เมาส์ ลำโพง หรืออุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ โดยพอร์ตมีอยู่หลายๆ แบบ เช่นUSB พอร์ตเป็นพอร์ตที่มีความเร็วถึง 12 เมกะบิตต่อวินาที ซึ่งในขณะนี้มีการพัฒนา USB 2.0 ออกมาแล้ว โดยทำความเร็วได้มากถึง 420-480 เมกะบิตต่อวินาที ตอนนี้มีอุปกรณ์ที่ออกมาสนับสนุน USB2.0 ยังน้อยอยู่ แต่คาดว่าน่าจะออกตามมาเรื่อยๆ เมนบอร์ดในปัจจุบันอย่างน้อยควรมี USB พอร์ต 2 พอร์ต แต่บางรุ่นก็มีให้เราเชื่อมต่อ USB ได้มากถึง 4 - 6 พอร์ตเลยทีเดียวParallel Port เป็นพอร์ตสำหรับต่อกับพรินเตอร์ สแกนเนอร์ หรืออุปกรณ์อื่นๆ ที่ออกแบบมาให้ใช้กับพาราเรลพอร์ต ส่วนโหมดมาตรฐานของ Parallel Port นั้นยังแบ่งเป็น ECP (Enhanced Capability Port) EPP (Enhanced Parallel Port) SPP (Standard Parallel Port) โดยเมนบอร์ดและอุปกรณ์ส่วนใหญ่สนับสนุน ECP และ EPPSerial Port จะเป็นพอร์ตขนาดเล็ก สำหรับต่อกับอุปกรณ์เช่น โมเด็ม หรือเมาส์แบบเดิม โดยส่วนใหญ่จะติดตั้งมาให้ 2 พอร์ตPS/2 Port พอร์ตแบบนี้ออกแบบมาใช้กับคีย์บอร์ดและเมาส ์โดยเฉพาะ ซึ่งทำให้ช่วยประหยัด Serial Port จะได้เอาไว้ต่อกับอุปกรณ์อื่นๆ ได้ เมนบอร์ดทุกตัวจะติดตั้งมาให้ 2 พอร์ตสำหรับเมาส์ และคียบอร์ดMIDI Port / Game Port เป็นพอร์ตที่มักจะมากับการ์ดเสียง ออกแบบมาต่อกับอุปกรณ์ดนตรี เช่น อิเล็กโทน คียบอร์ด นอกจากนี้ยังใช้กับจอยสติ๊ก จอยแพดได้อีกด้วยคอนเน็กเตอร์ (Connector)คอนเน็กเตอร์ออกแบบมาสำหรับต่อกับอุปกรณ์อื่นๆ ผ่านทางสาย โดยจะมีอยู่บนเมนบอร์ดเต็มไปหมดเลย เริ่มด้วยIDE CONNECTOR เป็นคอนเน็กเตอร์สำหรับต่อกับฮาร์ดดิสก์ หรืออุปกรณ์ IDE อื่นๆ เช่น CDROM , DVDROM โดยจะแบ่งการเชื่อมต่อเป็นแบบ ATA33 , 66 , 100 เป็นต้น บางยี่ห้อใฃ้ UDMA แทนคำว่า ATA ซึ่ง ATA นี้เป็นมาตรฐานการเชื่อมต่อ ตัวเลขด้านหลังหมายถึง ความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลที่สนับสนุน เช่น ATA100 สามารถถ่ายโอนข้อมูลได้ถึง 100 เมกะไบต์ต่อวินาที แต่ว่าฮาร์ดดิสก์ที่เราใช้นั้นก็ต้องสนับสนุนการเชื่อมต่อแบบ ATA100 ถึงจะได้ความเร็วในระดับนี้Floppy Connector เป็นคอนเน็กเตอร์สำหรับต่อกับฟลอปปี้ดิสก์ไดรฟ์ หรือไดรฟ์ A นั่นเอง โดยช่องนั้นจะมีขนาดเล็กว่า IDE Connector USB Connector ออกแบบมาเพื่อให้สามารถเพิ่มเติม USB พอร์ตได้ภายหลัง โดยต่อต่อกับอุปกรณ์เพิ่มพอร์ต USB ส่วนใหญ่ติดตั้งไว้ด้านหน้าของเมนบอร์ดเพื่อต่อเข้ากับตัวเคสทางด้านหน้า สะดวกสำหรับต่อกับอุปกรณ์IR Connector สำหรับต่อกับอุปกรณ์ประเภทอินฟาเรด เช่น การเชื่อมต่อโทรศัพท์มือถือ เข้ากับคอมพิวเตอร์ ซึ่งค่อนข้างหาซื้ออุปกรณ์มาต่อยากพอสมควรWOL , WOM เป็นคอนเน็กเตอร์สำหรับต่อกับการ์ดแลน หรือโมเด็มโดยโมเด็ม หรือการ์ดแลนต้องสนับสนุนฟังก์ชันนี้ด้วย ประโยชน์ก็คือ สามารถสั่งเปิดเครื่องพีซีผ่านการ์ดต่างๆ เหล่านี้ได้คอนเน็กเตอร์สำหรับสวิทซ์ และสายไฟต่างๆ บนเมนบอร์ดจะมีคอนเน็กเตอร์ต่างๆ เหล่านี้อยู่ โดยเป็นจุดสำหรับต่อสายจากเคส เช่น สายไฟสำหรับแสดงการทำงานของฮาร์ดดิสก์ หรือปิดเปิดเครื่อง สังเกตว่าจะมีการกระพริบของไฟ เมื่อมีการอ่านข้อมูลจากฮาร์ดดิสก์ โดยการต่อสายต่างๆ เหล่านี้ต้องอาศัยดูคู่มือ เพราะว่าค่อนข้างจะเยอะ และไม่เหมือนกันในแต่ละบอร์ด
*7. ไบออสไบออสเป็นส่วนที่เก็บค่าพื้นฐานต่างๆ ของเมนบอร์ดเอาไว้ เช่น ฮาร์ดดิสก์ที่ใช้ พอร์ต่างๆ ตำแหน่งของการ์ดต่างๆ โดยอาศัยไฟจากแบตเตอรี่ก้อนเล็กๆ เพื่อให้สามารถเก็บข้อมูลได้ตลอดเวลา โดยรวมถึงเวลาของเมนบอร์ด้วยซึ่งสังเกตได้ว่าถ้าแบตเตอรี่ของเมนบอร์ดหมดค่าต่างๆ จะกลับไปเริ่มใหม่หมด รวมถึงวันที่ต่างๆ ด้วย สำหรับไบออสก็จะเปิดชิปติดตั้งในเมนบอร์ด มีของหลายๆ ยีห้อเช่น intel , AMI ,Award , Phoneix แต่ละยี่ห้อก็จะแตกต่างกันไป โดยเราสามารถอัพเดพ หรือ Flash ไบออสได้เพิ่มปรับปรุงให้เมนบอร์ดรู้จักซีพียูใหม่ๆ หรือแก้ไขข้อผิดพลาดต่างๆ
*8. อุปกรณ์ออนบอร์ดอุปกรณ์ออนบอร์ดนั้นผู้ผลิตได้ติดตั้ง คอนโทรเลอร์ชิปลงไปบนเมนบอร์ดทำให้เราไม่ต้องซื้ออุปกรณ์ต่างๆ เพิ่มเติมอีก บางเมนบอร์ดติดตั้งมาให้ครบเลยตั้งแต่ การ์ดแสดงผล โมเด็ม ซาวน์ดการ์ด การ์ดแลน ครบชุดแถมราคาถูกอีก เมนบอร์ดในปัจจุบันส่วนใหญ่จะติดตั้งการ์ดเสียงมาบนเมนบอร์ดอยู่แล้ว ซึ่งถ้าเทียบคุณภาพเสียงกับการ์ดแยกต่างหากก็คงเทียบกันไม่ได้ แต่หลังๆ ก็มีเมนบอร์ดบางรุ่นปรับปรุงและใช้ชิปที่มีคุณภาพสูงขึ้น ทำให้เสียงดีขึ้นจะว่าไปแล้วอุปกรณ์ออนบอรดก็มีข้อดีเหมือนกัน คือทำให้เราประหยัดเงิน และไม่ต้องมายุ่งยากติดตั้งการ์ดแต่ละตัวกันอีก แต่ก็มีข้อเสียเหมือนกันคือ การอัพเกรดค่อนข้างลำบาก เพราะเขาจะตัดสล็อตต่างๆ ที่ไม่จำเป็นออกไป และอีกอย่างหนึ่งก็คือ ไม่เหมาะสำหรับการใช้งานที่หนักๆ ส่วนใหญ่เหมาะสำหรับใช้ในออฟฟิศมากกว่า

วันพุธที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

สัปดาห์ที่ 8 วันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ.2552

ปัญหาและการแก้ปัญหาของ MODEM
1.Error 602 : The modem is being used by another Dial-Up Networking connection or another program
สาเหตุ : โมเด็มกำลังถูกใช้งานจากโปรแกรมอื่นอยู่ เช่น โปรแกรมรับ - ส่งโทรสาร หรืออื่นๆ
วิธีการแก้ไข : ให้คุณทำการยกเลิกการใช้โปรแกรมอื่นที่กำลังใช้งานโม เด็ม
สาเหตุ : สัญญาณระหว่างโมเด็มกับคอมพิวเตอร์ขัดข้องหรือสัญญาณ โมเด็มค้าง
วิธีการแก้ไข : ให้คุณทำการรีบู๊ตเครื่องคอมพิวเตอร์
2.Error 629 : You have been disconnected from the computer you dialed
สาเหตุ : พิมพ์รหัสใช้งานผิด หรือจำนวนชั่วโมงการใช้งานโมเด็มหมด
วิธีการแก้ไข : ลองพิมพ์รหัสใช้งานดูอีกที หรือตรวจสอบชั่วโมงการใช้งานอินเตอร์เน็ต
3.Error 645 : Internal Authentication Error
สาเหตุ : เกิดจากความผิดพลาดของเครื่องคอมพิวเตอร์หรือโมเด็ม
วิธีการแก้ไข : ให้คุณทำการรีบู๊ตเครื่องคอมพิวเตอร์
4.Error 678 : The computer you are dialing into is not answering.
สาเหตุ : อาจเกิดจากปัญหาของเครื่องคอมพิวเตอร์ต้นทาง (Server)
วิธีการแก้ไข : ให้คุณทำการตรวจสอบสายโทรศัพท์ดูว่ามีสัญญาณตามปกติหรือไม่
5.Error 635 : Cannot establish the Dial-Up Networking session.
สาเหตุ : พิมพ์รหัสใช้งานผิด หรือจำนวนชั่วโมงการใช้งานโมเด็มหมด
วิธีการแก้ไข : ลองพิมพ์รหัสใช้งานดูอีกที หรือตรวจสอบชั่วโมงการใช้งานอินเตอร์เน็ต

วันพฤหัสบดีที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ประวัติของข้าวไทย

ในประเทศไทย เมล็ดข้าวที่เก่าแก่ที่สุดที่พบมีลักษณะคล้ายข้าวปลูกของชุมชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ อายุราว 3,500-3,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช ได้แก่รอยแกลบข้าวซึ่งเป็นส่วนผสมของดินที่ใช้ปั้นภาชนะดินเผาที่โนนนกทาตำบลบ้านโคก อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น เป็นหลักฐานที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าเก่า

แก่ที่สุดคือประมาณ 3,500 ปีก่อนคริสต์ศักราชหลักฐานอื่น ๆ ที่แสดงให้เห็นว่าสยามประเทศเป็นแหล่งปลูกข้าวมาแต่โบราณ อาทิ เมล็ดข้าวที่ขุดพบที่ถ้ำปุงฮุง จังหวัดแม่ฮ่องสอน แสดงว่ามีการปลูกข้าวในบริเวณนี้เมื่อ 3,500-3,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช หรือราว 5,400 ปีมาแล้ว แกลบข้าวที่พบที่ถ้ำปุงฮุง มีทั้งลักษณะของข้าวเหนียวเมล็ดใหญ่ที่เจริญงอกงามอยู่ในที่สูงเป็นข้าวไร่และข้าวเจ้า แต่ไม่พบลักษณะของข้าวเหนียวเมล็ดป้อม หรือข้าวพวก Japonica เลยแหล่งโบราณคดีที่บ้านเชียงจังหวัดอุดรธานีพบรอยแกลบข้าวผสมอยู่กับดินที่นำมาปั้นภาชนะดินเผากำหนดอายุได้ใกล้เคียงกับแกลบข้าวที่ถ้ำปุงฮุง คือประมาณ 3,500-2,000 ปีก่อนคริสต์ศักราชลักษณะเป็นข้าวเอเชีย (Oryza sativa) พวกเมล็ดป้อมพันธุ์ Japonica

หลักฐานการค้นพบเมล็ดข้าว เถ้าถ่านในดินและรอยแกลบบนเครื่องปั้นดินเผาที่โคกพนมดีอำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี แสดงให้เห็นถึงชุมชนปลูกข้าวสมัยก่อนประวัติศาสตร์ชายฝั่งทะเล นอกจากนี้ยัง
พบหลักฐานคล้ายดอกข้าวป่าเมืองไทยที่ถ้ำเขาทะลุ จังหวัดกาญจนบุรี อายุประมาณ 2,800 ปี (อาจจะก่อนหน้าหรือหลังจากนั้นประมาณ 300 ปี) ซึ่งเป็นช่วงรอยต่อยุคหินใหม่ตอนปลายกับยุคโลหะตอนต้นส่วนหลักฐานภาพเขียนบนผนังถ้ำหรือผนังหินอายุไม่น้อยกว่า 2,000 ปี ที่ผาหมอนน้อย บ้านตากุ่ม ตำบลห้วยไผ่ อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี บันทึกการปลูกธัญพืชอย่างหนึ่ง มีลักษณะเหมือนข้าว ภาพควายแปลงพืชคล้ายข้าวอาจตีความได้ว่ามนุษย์สมัยนั้นรู้จักข้าวหรือการเพาะปลูกข้าวแล้วศาสตราจารย์ชิน อยู่ดี สรุปไว้เมื่อ ปี พ.ศ. 2535 ว่าประเทศไทยทำนาปลูกข้าวมาแล้วประมาณ 5,471 ปี (นับถึง ปี พ.ศ. 2514) ก่อนการปลูกข้าวในประเทศจีนหรืออินเดียราว 1,000 ปี ผลของการขุดค้นที่โนนนกทาสนับสนุนสมมติฐานที่ว่าข้าวเริ่มปลูกในทวีปเอเชียอาคเนย์ในสมัยหินใหม่ จากนั้นแพร่ขึ้นไปที่ประเทศอินเดียประเทศจีน ประเทศญี่ปุ่น และประเทศเกาหลี

วันพุธที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ข้าวที่จดลิขสิทธิ์


นางพวงรัตน์ อัศวพิศิษฐ์ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา เปิดเผยว่า
ได้ยื่นจดทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (จีไอ) ข้าวหอมมะลิ ทุ่งกุลาร้องไห้ ต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญาแห่งสหภาพยุโรปแล้ว เมื่อวันที่ 18 พ.ย.ที่ผ่านมา เพื่อให้พันธุ์ข้าวไทยได้รับความคุ้มครองภายใน สมาชิกยุโรป 27 ประเทศ และไม่ให้ผลิตภัณฑ์ของไทย ถูกลอกเลียนแบบจนเกิดปัญหาเหมือนที่ผ่านมา รวมถึงช่วยประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ ข้าวหอมมะลิและอาหารไทยให้เป็นที่รู้จักในยุโรปมากขึ้น
ทั้งนี้การจดทะเบียนจีไอข้าวหอมมะลิกุ้งกุลาร้องไห้ ถือเป็นการจดทะเบียนจีไอรายการแรกของประเทศไทย ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาพิจารณา 1-2 ปี ในการตรวจสอบแหล่งกำเนิดคุณภาพตามหลักเกณฑ์มาตรฐาน ก่อนจะประกาศใช้ได้ และเมื่อผ่านการจดทะเบียนแล้วผู้อื่นที่ไม่ได้อยู่ในชุมชนทุ่งกุลาร้องไห้จะไม่สามารถเอาชื่อข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ ไปใช้ประชาสัมพันธ์สินค้าของตนเองได้ เพราะจะถือว่าละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของชุมชนทุ่งกุลาร้องไห้ทันที
“จีไอจะช่วยสร้างการรับรู้ของผู้บริโภค อียูให้รู้จักข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้มากขึ้น และช่วยเพิ่มมูลค่าทางการค้าด้วย เพราะต่อไปหากไทยส่งออกข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้จะต้องส่งออก แบบบรรจุถุง แล้วระบุข้างถุงว่าเป็นข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ ต่างจากเดิมที่ส่งออกเป็นกอง ๆ ซึ่งขายไม่ค่อยได้ราคา นอกจากนี้กรมกำลังเจรจากับร้านเลอโน้ต ซึ่งจำหน่ายขนมหวานชื่อดังของฝรั่งเศสให้นำสินค้าจีไอของไทยไปเป็นส่วนผสมทำขนมหวาน และระบุในสูตร ทำขนมด้วยว่าเป็นสินค้าจีไอจากไทย รวมทั้งจะร่วมมือกับกรมการค้าต่างประเทศ เชิญผู้นำเข้า ข้าวของไทยมาดูแหล่งผลิตและขั้นตอนก่อนการ จำหน่ายจริงด้วย”
นอกจากนี้แผนอนาคตกรมมีเป้าหมายยื่นจดทะเบียนในปีต่อไปอีกหลายรายการ อาทิ
กาแฟดอยตุง จ.เชียงราย กาแฟดอยช้าง จ.เชียงราย สับปะรดภูแล จ.เชียงราย มะขามหวาน จ.เพชรบูรณ์ เป็นต้น เพื่อเป็นการรักษาลิขสิทธิ์สินค้าไทย พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์อาหารไทยให้เป็นที่รู้จัก โดยเฉพาะในยุโรปที่กำลังนิยมบริโภคอาหารไทยจำนวนมาก
“กระแสบริโภคอาหารไทยกำลังได้รับความนิยมมากขึ้น แต่การเข้าถึงอาจยังไม่มากนัก ซึ่งหลังจากได้ขึ้นทะเบียนในยุโรปและมีการจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์ต่อเนื่องแล้ว จะช่วยเพิ่มมูลค่าการค้าในสินค้าได้ และช่วยกระตุ้นให้มีการยื่นจดทะเบียนคุ้มครองแหล่งกำเนิดภูมิปัญญา พื้นฐานของไทยได้อีกในอนาคต”
ทั้งนี้ได้จัดทำแผนการผลักดันการ ใช้ประโยชน์จากโครงการแปลงสินทรัพย์ทางปัญญาเป็นทุน เพื่อส่งเสริมธุรกิจใหม่ และประคองธุรกิจเก่าที่มีศักยภาพแต่ขาดแคลนสภาพคล่องด้วย.

ตัวอย่างพันธุ์ข้าวไทย


ชื่อพันธุ์กข5 (RD5)ชนิดข้าวเจ้าคู่ผสมพวงนาค 16 / ซิกาดิสประวัติพันธุ์ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์พวงนาค 16 ของไทยกับพันธุ์ซิกาดิส ของอินโดนีเซีย ได้ผสมพันธุ์และคัดพันธุ์แบบสืบตระกูลที่สถานีทดลองข้าวบางเขน เมื่อปี พ.ศ.2508 จนได้สายพันธุ์ BKN6517-9-2-2การรับรองพันธุ์คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ให้ใช้ขยายพันธุ์เป็นพันธุ์รับรองเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2516ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเจ้าต้นสูง สูงประมาณ 145 เซนติเมตรเป็นพันธุ์ข้าวไวต่อช่วงแสงเล็กน้อย เหมาะที่จะปลูกเป็นข้าวนาปี ถ้าปลูกตามฤดูกาลจะเก็บเกี่ยวได้ปลายเดือนพฤศจิกายน แต่ถ้าปลูกในฤดูนาปรังหรือไม่ปลูกตามฤดูกาล อายุจะอยู่ระหว่าง 140-160 วัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเดือนที่ลำต้นสีม่วง มีรวงยาว ต้นแข็งไม่ล้มง่ายปลูกระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 6 สัปดาห์เมล็ดข้าวเปลือกสีฟางก้นจุดท้องไข่น้อย

ชื่อพันธุ์ ปทุมธานี 1 (Pathum Thani 1)ชนิดข้าวเจ้าคู่ผสม BKNA6-18-3-2 / PTT85061-86-3-2-1ประวัติพันธุ์ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างสายพันธุ์ BKNA6-18-3-2 กับสายพันธุ์ PTT85061-86-3-2-1 ที่ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี ในปี พ.ศ. 2533 ปลูกคัดเลือกจนได้สายพันธุ์ PTT90071-93-8-1-1การรับรองพันธุ์คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรองเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2543ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 104-133 เซนติเมตรไม่ไวต่อช่วงแสงอายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 104-126 วันทรงกอตั้ง ใบสีเขียวมีขน กาบใบและปล้องสีเขียว ใบธงยาว ทำมุม 45o กับคอรวง รวงอยู่ใต้ใบธงเมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง มีขน มีหางเล็กน้อยระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 3-4 สัปดาห์เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.1 x 7.6 x 1.7 มิลลิเมตรปริมาณอมิโลส 15-19 %คุณภาพข้าวสุก นุ่มเหนียว มีกลิ่นหอมอ่อน


ชื่อพันธุ์ชัยนาท 2 (Chai Nat 2)ชนิดข้าวเจ้าคู่ผสมหอมพม่า (GS.No.3780 ) / IR11418-19-2-3ประวัติพันธุ์ได้จาการผสมพันธุ์แบบผสมเดี่ยวระหว่างข้าวเจ้าพันธุ์หอมพม่า (GS.No. 3780) ซึ่งเป็นข้าวหอมพันธุ์พื้นเมืองจากจังหวัดกาญจนบุรี กับสายพันธุ์ IR11418-19-2-3 จากสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ (IRRI) ที่สถานีทดลองข้าวชัยนาท ใน พ.ศ.2530 ปลูกคัดเลือกพันธุ์แบบสืบตระกูล จนได้สายพันธุ์ CNT87040-281-1-4การรับรองพันธุ์คณะกรรมการบริหาร กรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2547ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 83 - 95 เซนติเมตรไม่ไวต่อช่วงแสงอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 103 – 105 วันทรงกอแบะ ใบสีเขียวเข้ม ใบธงเป็นแนวนอน รวงแน่นปานกลาง ระแง้ถี่ คอรวงยาว ต้นแข็ง ไม่ล้ม ใบค่อนข้างแก่เร็วเมล็ดข้าวเปลือกสีฟางเพิ่มรูปภาพ



ชื่อพันธุ์ชัยนาท 1 (Chai Nat 1)ชนิดข้าวเจ้าคู่ผสม IR13146-158-1 / IR15314-43-2-3-3 // BKN6995-16-1-1-2ประวัติพันธุ์ได้จากการผสม 3 ทาง ระหว่างสายพันธุ์ IR13146-158-1 และสายพันธุ์ IR15314-43-2-3-3 กับ BKN6995-16-1-1-2 ที่สถานีทดลองข้าวชัยนาท เมื่อ พ.ศ. 2525 ปลุกคัดเลือกจนได้สายพันธุ์ CNTBR82075-43-2-1การรับรองพันธุ์คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรองเมื่อวันที่9 กันยายน 2536ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 113 เซนติเมตรไม่ไวต่อช่วงแสงอายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 121-130 วันทรงกอตั้ง ใบสีเขียว ใบธงค่อนข้างยาวตั้งตรง คอรวงสั้น รวงยาวและแน่น ระแง้ค่อนข้างถี่ ฟางแข็งเมล็ดข้าวเปลือกสีฟางระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 8 สัปดาห์เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.1 x 7.7 x 1.7 มิลลิเมตรปริมาอุณหภูมิโลส 26-27 %คุณภาพข้าวสุก ร่วน แข็ง


ชื่อพันธุ์ ข้าวเจ้าหอมสุพรรณบุรี (Khao' Jow Hawm Suphan Buriชนิดข้าวเจ้าคู่ผสม SPR84177-8-2-2-2-1 / SPR85091-13-1-1-4 // ขาวดอกมะลิ 105ประวัติพันธุ์ได้จากการผสม 3 ทางระหว่างlสายพันธุ์ SPR84177-8-2-2-2-1 และ SPR85091-13-1-1-4 กับพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ที่สถานีทดลองข้าวสุพรรณบุรี เมื่อปี พ.ศ.2532 ปลูกคัดเลือกจนได้สายพันธุ์ SPR89111-17-2-2-2-2การรับรองพันธุ์คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์แนะนำเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2540ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 126 เซนติเมตรไม่ไวต่อช่วงแสงอายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 120 วันทรงกอตั้ง ฟางแข็ง ใบสีเขียว ใบธงตั้งตรง รวงยาวและคอรวงยาวเมล็ดข้าวเปลือกสีฟางระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 3-4 สัปดาห์เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.1 x 7.7 x 1.8 มิลลิเมตรปริมาณอมิโลส 18-19 %คุณภาพข้าวสุก นุ่มเหนียวและหอม

ชื่อพันธุ์ข้าวเจ้าหอมคลองหลวง 1 (Khao’ Jow Hawm Khlong Luang 1)ชนิดข้าวเจ้าคู่ผสมนางมล เอส-4 / ไออาร์841-85-1-1-2ประวัติพันธุ์ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์นางมล เอส-4 กับสายพันธุ์ไออาร์841-85-1-1-2 ที่สถานีทดลองข้าวคลองหลวง ปลูกคัดเลือกจนได้สายพันธุ์ KLG83055-1-1-1-2-1-4การรับรองพันธุ์ คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2540ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 110 เซนติเมตรไม่ไวต่อช่วงแสงอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 118 วัน เมื่อปลูกในฤดูนาปรัง และ 125 วัน ในฤดูนาปีทรงกอตั้ง ฟางแข็ง ใบสีเขียว ใบธงยาวปานกลาง และ ค่อนข้างตั้ง คอรวงสั้น รวงยาวแน่น และระแ้ง้ถี่เมล็ดข้าวเปลือกสีฟางระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 5-6 สัปดาห์เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.3 x 7.8 x 1.8 มิลลิเมตรปริมาณอมิโลส 18-19 %คุณภาพข้าวสุก นุ่มเหนียวและหอม



ชื่อพันธุ์กข25 (RD25)ชนิดข้าวเจ้าคู่ผสม ขาวดอกมะลิ 105 / ไออาร์2061-213-2-3-3 // ขาวดอกมะลิ 105 / ไออาร์ 26ประวัติพันธุ์ได้จากการผสมซ้อนระหว่างคู่ผสมของพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และพันธุ์ไออาร์2061-213-2-3-3 กับคุ่ผสมของพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 กับไออาร์26 ที่สถานีทดลองข้าวบางเขน เมื่อ พ.ศ.2518 ปลูกคัดเลือกที่สถานีทดลองข้าวชัยนาท และสถานีทดลองข้าวรังสิต จนได้สายพันธุ์ BKNLR75091-CNT-B-RST-40-2-2การรับรองพันธุ์คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตรให้ใช้ขยายพันธุ์เป็นพันธุ์รับรองเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2524ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 100 เซนติเมตรไม่ไวต่อช่วงแสงอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 90 - 100 วันลำต้นตั้งตรง ฟางค่อนข้างแข็ง ใบสีเขียวอ่อน รวงอยู่ใต้ใบข้าวเปลือกสีฟางระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 4 สัปดาห์ท้องไข่ปานกลางเมล็ดข้างกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.2 x 7.3 x 1.7 มิลลิเมตรปริมาณอมิโลส 25 %คุณภาพข้าวสุก ร่วน นุ่ม

ชื่อพันธุ์กข23 (RD23)ชนิดข้าวเจ้าคู่ผสมกข7 / ไออาร์32 // กข1ประวัติพันธุ์ได้จากการผสม 3 ทางระหว่าง กข7 และ ไออาร์32 กับ กข1 ที่สถานีทดลองข้าวสุพรรณบุรี เมื่อปี พ.ศ.2521 แล้วปลูกคัดเลือกจนได้สายพันธุ์ SPRLR76002-168-1-4การรับรองพันธุ์คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร ให้ใช้ขยายพันธุ์เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2524ลักษณะประจำพันธุ์ เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 115-120 เซนติเมตรไม่ไวต่อช่วงแสงอายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 125 วันลำต้นและใบมีสีเขียวอ่อน ใบธงตั้ง และค่อนข้างยาว รวงอยู่ใต้ใบ แตกกอดีข้าวเปลือกสีฟางระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 5 สัปดาห์ท้องไข่น้อยปริมาณอมิโลส 25-30 %คุณภาพข้าวสุก ร่วน นุ่มเมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.2 x 7.3 x 1.8 มิลลิเมตร



ชื่อพันธุ์กข21 (RD21)ชนิดข้าวเจ้าคู่ผสมขาวดอกมะลิ 105 / นางมลเอส-4 // ไออาร์26ประวัติพันธุ์ได้จากการผสม 3 ทางระหว่างขาวดอกมะลิ 105 และ นางมล เอส -4 กับ ไออาร์26 ที่สถานีทดลองข้าวสุพรรณบุรี เมื่อพ.ศ.2517ปลูกคัดเลือกที่สถานีทดลองข้าวสุพรรณบุรี จนได้สายพันธุ์ SPR7419-86-2-5 ซึ่งเป็น พันธุ์แรกที่ต้านทานโรคใบหงิกและให้ผลผลิตค่อนข้างสูงการรับรองพันธุ์คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตรให้ใช้ขยายพันธุ์เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 252ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 100-125 เซนติเมตรไม่ไวต่อช่วงแสงอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 120-130 วันลำต้นใหญ่ แต่ค่อนข้างอ่อน รวงแน่น อยู่ใต้ใบธงเมล็ดข้าวเปลือกสีฟางกระน้ำตาลระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 4 สัปดาห์ท้องไข่น้อยเมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.3 x 7.3 x 1.8 มิลลิเมตรปริมาณอมิโลส 17-20 %คุณภาพข้าวสุก นุ่ม


ชื่อพันธุ์ กข11 (RD11ชนิดข้าวเจ้าคู่ผสมไออาร์661 / ขาวดอกมะลิ 105ประวัติพันธุ์ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์ไออาร์661 กับพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 เมื่อปี พ.ศ.2512 ที่สถานีทดลองข้าวหันตรา แล้วนำมาคัดเลือกที่สถานีทดลองข้าวบางเขน คัดจนได้พันธุ์ผสมเบอร์ ดับเบิ้ลยูพี153การรับรองพันธุ์คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตรให้ใช้ขยายพันธุ์เป็นพันธุ์รับรองเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2520ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 115 เซนติเมตรไม่ไวต่อช่วงแสงทรงกอตั้งตรงสีเขียวเข้ม ฟางแข็ง ใบธงยาวปานกลาง แตกกอมากเมล็ดข้าวเปลือกสีฟางอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 135 วันท้องไข่ปานกลางระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 4 สัปดาห์เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.37 x 7.6 x 1.8 มิลลิเมตรปริมาณอมิโลส 29-32 %คุณภาพข้าวสุก ร่วน แข็ง

ชื่อพันธุ์กข10 (RD10)ชนิดข้าวเหนียวประวัติพันธุ์ ได้จากการปรับปรุงพันธุ์ โดยการชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์ โดยใช้รังสีนิวตรอนเร็ว ปริมาณ 1 กิโลแรด อาบเมล็ดข้าวพันธุ์ กข1 เมื่อปี พ.ศ.2512 ปลูกคัดเลือกที่สถานีทดลองข้าวบางเขน จนได้สายพันธุ์ RD1'69-NF1U-G6-6 หลังจากนั้นได้นำไปปลูกเปรียบเทียบผลผลิตที่สถานีทดลองข้าวในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือการรับรองพันธุ์คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร ให้ใช้ขยายพันธุ์เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2524ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเหนียว สูงประมาณ 115 เซนติเมตรไม่ไวต่อช่วงแสงอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 130 วันทรงกอตั้งตรง ลำต้นสีเขียวเข้ม ใบค่อนข้างกว้าง รวงอยู่ใต้ใบธงระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 5 สัปดาห์เมล็ดข้าวเปลือกสีฟางเมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.3 x 7.6 x 1.8 มิลลิเมตรคุณภาพข้าวสุก เหนียวนุ่ม

วันพฤหัสบดีที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2552

เรื่องของ HARDDISK

HARDDISK

คอมพิวเตอร์มีส่วนที่สำคัญคือ ส่วนประมวลผล ส่วนรับข้อมูล และก็ส่วนแสดงผล แต่ก่อนที่คอมพิวเตอร์จะนำข้อมูลมาประมวลผลก็ต้องมีข้อมูล ซึ่งข้อมูลนั้นจะต้องถูกนำมาจากที่แห่งหนึ่งนั้นก็คือส่วนที่เรียกว่า Storage ซึ่งคอมพิวเตอร์ในยุคแรกจะเป็นกระดาษที่เป็นรู ซึ่งใช้งานยาก จากนั้นได้พัฒนามาใช้ แผ่นพลาสติกที่เครื่องด้วยสารแม่เหล็ก ที่เรียกว่า Diskette ต่อมาเมื่อข้อมูลมากขึ้นจำนวนการเก็บข้อมูลก็มากขั้นทำให้การเก็บข้อมูลลงบนแผ่น Diskette นั้นไม่เพียงพอ ต่อมาก็ทำการพัฒนามาเป็น Hard Disk ในปัจจุบัน ระบบของ Hard disk ต่างจากแผ่น Diskette โดยจะมีจำนวนหน้าในการเก็บข้อมูลมากกว่า 2 หน้า ในการเก็บข้อมูลของ Hard Disk นั้นก็ไม่ต่างกับการเก็บข้อมูลลงบน Diskette ทั่วไปมากนัก Hard Disk ส่วนใหญ่ประกอบด้วยแผ่นจานแม่เหล็กมากกว่า 2แผ่นเรียงกันอยู่บนแกน Spindle ทำให้แผ่นแม่เหล็กหมุนไปพร้อมๆกัน Hard Disk ใช้หัวอ่านเพียงหัวเดียวในการทำงาน ทั้งอ่านและเขียนข้อมูล ในการเขียนข้อมูลหัวอ่านจะได้รับกระแสไฟฟ้าผ่านเข้าสู่คอยล์ของหัวอ่าน เพื่อรับข้อมูล เป็นการแปลงความหนาแน่นของสารแม่เหล็กที่เคลือบอยู่บน Disk ออกมาให้กับ CPU เพื่อทำการประมวลผล ส่วนการเก็บข้อมูล จะเก็บอยู่ในรูปแบบของสัญญาณดิจิตอล โดยเก็บเป็นเลขฐาน 2 คือ 0 และ 1 การเก็บข้อมูลจะเริ่ม

Seek Time เป็นระยะเวลาที่แกนยืดหัวอ่านเขียน Hard Disk เคลื่อนหัวอ่านเขียนไประหว่างแทร็คของข้อมูลบน Hard Disk ซึ่งในปัจจุบัน Hard Disk จะมีแทร็คข้อมูลอยู่ประมาณ 3,000 แทร็คในแต่ละด้านของแพล็ตเตอร์ ขนาด 3.5 นิ้ว ความสามารถในการเคลื่อนที่ จากแทร็คที่อยู่ไปยังข้อมูลในบิตต่อไป อาจเป็นการย้ายตำแหน่งไปเพียง อีกแทร็คเดียวหรืออาจย้ายตำแหน่งไปมากกว่า 2,999 แทร็คก็เป็นได้ Seek time จะวัดโดยใช้หน่วยเวลาเป็น มิลลิเซก (ms) ค่าของ Seek time ของการย้ายตำแหน่งของแขนยึดหัวอ่านเขียน ไปในแทร็คถัดไปในแทร็คที่ อยู่ติดๆกันอาจใช้เวลาเพียง 2 ms ในขณะที่การย้ายตำแหน่งจากแทร็คที่อยู่นอกสุดไปหาแทร็คที่อยู่ในสุด หรือ ตรงกันข้ามจะต้องใช้เวลามากถึงประมาณ 20 ms ส่วน Average seek time จะเป็นค่าระยะเวลาเฉลี่ย ในการย้ายตำแหน่ง ของหัวเขียนอ่านไปมาแบบสุ่ม (Random) ในปัจจุบันค่า Average seek time ของ Hard Disk จะอยู่ ในช่วงตั้งแต่ 8 ถึง 14 ms แม้ว่าค่า seek จะระบุเฉพาะคุณสมบัติในการทำงานเพียง ด้านกว้างและยาวของ แผ่นดิสก์ แต่ค่า Seek time มักจะถูกใช้ในการเปรียบเทียบ คุณสมบัติทางด้านความ เร็วของ Hard Disk ปกติจะเรียกรุ่นของ Hard Disk ตามระดับความเร็ว Seek ค่า Seek time ยังไม่สามารถแสดงให้ประสิทธิภาพทั้งหมดของ Hard Disk ได้ จะแสดงให้เห็นเพียงแต่การค้นหาข้อมูลในแบบสุ่ม ของตัว Drive เท่านั้น ไม่ได้แสดงในแง่ของ การอ่านข้อมูลแบบเรียงลำดับ (sequential)

Cylinder Switch Time เวลาในการสลับ Cylinder สามารถเรียกได้อีกแบบว่าการสลับแทร็ค (track switch) ในกรณีนี้แขนยึดหัวอ่านเขียนจะวางตำแหน่งของหัวอ่านเขียนอยู่เหนือ Cylinder ข้อมูลอื่น ๆ แต่มีข้อแม้ว่า แทร็คข้อมูลทั้งหมดจะต้องอยู่ใน ตำแหน่งเดียวกันของแพล็ตเตอร์อื่น ๆ ด้วย เวลาในการสลับระหว่าง Cylinder จะวัดด้วยระยะเวลาเฉลี่ยที่ตัว ไดร์ฟใช้ในการสลับจาก Cylinder หนึ่งไปยัง Cylinder อื่น ๆ เวลาในการสลับ Cylinder จะวัดด้วยหน่วย ms

Head Switch Time เป็นเวลาสลับการทำงานของหัวอ่านเขียน แขนยึด หัวอ่านเขียนจะเคลื่อนย้ายหัวอ่านเขียนไปบนแพล็ตเตอร์ที่อยู่ในแนวตรงกัน หัวอ่านเขียนเพียงหัวเดียวทำหน้าที่อ่านหรือบันทึกข้อมูลในเวลาใดเวลาหนึ่ง ระยะเวลาในการสลับกันทำงานของหัวอ่านเขียนจะวัดด้วยเวลาเฉลี่ยที่ตัวไดร์ฟใช้สลับ ระหว่างหัวอ่านเขียน สองหัวในขณะ อ่านบันทึกข้อมูล เวลาสลับหัวอ่านเขียนจะวัดเป็นหน่วย ms

Rotational Latency เป็นช่วงเวลาที่คอยการหมุนของแผ่นดิสก์ภายในการหมุนภายใน Hard Disk เกิดขึ้นเมื่อหัวอ่านเขียนวางตำแหน่งอยู่เหนือแทร็คข้อมูลที่เหมาะสม ระบบการทำงานของหัวอ่านเขียนข้อมูลจะรอให้ตัวไดร์ฟ หมุนแพล็ตเตอร์ไปยังเซ็กเตอร์ที่ถูกต้อง ช่วงระยะเวลาที่รอคอยนี้เองที่ถูกเรียกว่า Rotational Latency ซึ่งจะวัดเป็นหน่วย ms แต่ระยะเวลาก็ขึ้นอยู่กับ RPM (จำนวนรอบต่อนาที)


การควบคุม Hard Disk Hard Disk จะสามารถทำงานได้ต้องมีการควบคุมจาก CPU โดยจะมีการส่งสัญญาณการใช้งานไปยัง Controller Card ซึ่ง Controller Card แบ่งออกได้ประมาณ 5 ชนิด ซึ่งจะกล่าวถึงเพียง 3 ชนิดที่ยังคงมีและใช้อยู่ในปัจจุบัน

IDE (Integrated Drive Electronics) ระบบนี้มีความจุใกล้เคียงกับแบบ SCSI แต่มีราคาและความเร็วในการขนย้ายข้อมูลต่ำกว่า ตัวควบคุม IDE ปัจจุบันนิยมรวมอยู่ในแผงตัวควบคุม

รูปแสดง Slot IDE บนแผงวงจร Mainboard

SCSI (Small Computer System Interface) เป็น Controller Card ที่มี Processor อยู่ในตัวเองทำให้เป็นส่วนเพิ่มขยายกับแผงวงจรใหม่ ใช้ควบคุมอุปกรณ์เสริมอื่นที่เป็นระบบ SCSI ได้ เช่น Modem CD-ROM Scanner และ Printer ใน Card หนึ่งๆจะสนับสนุนการต่ออุปกรณ์ได้ถึง 8 ตัว

รูปแสดง อุปกรณ์ Hard Disk ที่เป็น SCSI

Serial ATA (Advanced Technology Attachment)

เปิดตัวครั้งแรกในวันที่ 26 มิถุนายน 2545 งาน PC Expo ใน New York ประเทศสหรัฐอเมริกา หลังจากที่มีการนำเสนอ Parallel ATA มากว่า 20 ปี รวมถึงเทคโนโลยีอื่นๆที่ทำให้การอ่านข้อมูลได้เร็วขึ้น วันนี้บริษัท Intel Seagate และบริษัทอื่นๆ คอยช่วยกันพัฒนาให้เกิดเทคโนโลยี Serial ATA ขึ้นมาแทนที่ Serial ATA มีความเร็วในเข้าถึงข้อมูลถึง 150 Mbytes ต่อ วินาที และให้ผลตอบสนองในการทำงานได้เร็วมากในส่วนของ extreme application เช่น Game Home Video และ Home Network Hub มีจำนวน pin น้อยกว่า Parallel ATA Serial ATA II ของทาง Seagate คาดว่าจะออกวางตลาดภายในปี 2546 และจะทำงานได้กับ Serial ATA 1.0 ทั้งทางด้าน products และ maintain software


รูปแสดง สายสัญญาณแบบ Serial ATA

การบำรุงรักษา

การ Defrag ซึ่งก็คือการจัดเรียงข้อมูลใน Hard Disk เสียใหม่เพื่อให้ Hard Disk ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด ทุกครั้งที่เราเขียนข้อมูล ไม่ว่าจะด้วยการติดตั้งโปรแกรมใหม่ หรือว่าใช้คำสั่ง Save จากโปรแกรมใดๆ ก็ตาม หรือการ Download ข้อมูล Program จาก Internet รวมไปถึงการ Copy ข้อมูลลงไปใน Hard Disk นั้น สิ่งที่เครื่อง คอมพิวเตอร์ต้องสั่งให้ Hard Disk ทำคือ เขียนข้อมูลเหล่านั้นลงไปบนพื้นที่ว่างบน Hard Disk ซึ่งการเขียนข้อมูลของ Hard Disk นั้นจะไม่เหมือนกับการเขียนข้อมูลในหนังสือหรือกระดาษอย่างที่เราทำกัน แต่โครงสร้างของ Drive จะแบ่งออกเป็นส่วนย่อยๆ เป็นบล็อกอย่างที่เรารู้จักกันคือ Cluster ในการเขียนข้อมูลนั้น เครื่องคอมพิวเตอร์ต้องเข้าไปจองพื้นที่เป็น Cluster โดยที่ไม่สนใจว่าจะใช้เต็มพื้นที่หรือไม่ ถ้าข้อมูลมีขนาดใหญ่เกินไปก็จะใช้พื้นที่หลายๆ Cluster ซึ่งจะว่าไปแล้วในตอนแรกนั้นข้อมูลก็ยังคงจะเรียงกันอย่างเป็นระเบียบอยู่อย่างที่ควรจะเป็น แต่ว่าเมื่อมีการใช้งานหนักเข้าเรื่อยๆ โดยเฉพาะ Application ต่างๆ บนวินโดวส์จำเป็นต้องมีการเปิด File หลายๆ File พร้อมกัน รวมทั้งมีการเขียนและลบ File บ่อยๆ จะทำให้ข้อมูลกระจายออกไป

สัปดาห์ที่ 5 วันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ.2552

ใส่รหัส ascii ของชื่อนักเรียน
Ruksit = 001001010101011110110110001101111001011001000111
Thangngam = 010001011000011000010110111001100111011011100110011101100001011011010110
รักศิต = 001111000001110100011010100011000100110101011011
แต่งงาม = 00011110010110111000111001111010011110100010110100011100

วันพุธที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2552