วันพฤหัสบดีที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ประวัติของข้าวไทย

ในประเทศไทย เมล็ดข้าวที่เก่าแก่ที่สุดที่พบมีลักษณะคล้ายข้าวปลูกของชุมชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ อายุราว 3,500-3,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช ได้แก่รอยแกลบข้าวซึ่งเป็นส่วนผสมของดินที่ใช้ปั้นภาชนะดินเผาที่โนนนกทาตำบลบ้านโคก อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น เป็นหลักฐานที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าเก่า

แก่ที่สุดคือประมาณ 3,500 ปีก่อนคริสต์ศักราชหลักฐานอื่น ๆ ที่แสดงให้เห็นว่าสยามประเทศเป็นแหล่งปลูกข้าวมาแต่โบราณ อาทิ เมล็ดข้าวที่ขุดพบที่ถ้ำปุงฮุง จังหวัดแม่ฮ่องสอน แสดงว่ามีการปลูกข้าวในบริเวณนี้เมื่อ 3,500-3,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช หรือราว 5,400 ปีมาแล้ว แกลบข้าวที่พบที่ถ้ำปุงฮุง มีทั้งลักษณะของข้าวเหนียวเมล็ดใหญ่ที่เจริญงอกงามอยู่ในที่สูงเป็นข้าวไร่และข้าวเจ้า แต่ไม่พบลักษณะของข้าวเหนียวเมล็ดป้อม หรือข้าวพวก Japonica เลยแหล่งโบราณคดีที่บ้านเชียงจังหวัดอุดรธานีพบรอยแกลบข้าวผสมอยู่กับดินที่นำมาปั้นภาชนะดินเผากำหนดอายุได้ใกล้เคียงกับแกลบข้าวที่ถ้ำปุงฮุง คือประมาณ 3,500-2,000 ปีก่อนคริสต์ศักราชลักษณะเป็นข้าวเอเชีย (Oryza sativa) พวกเมล็ดป้อมพันธุ์ Japonica

หลักฐานการค้นพบเมล็ดข้าว เถ้าถ่านในดินและรอยแกลบบนเครื่องปั้นดินเผาที่โคกพนมดีอำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี แสดงให้เห็นถึงชุมชนปลูกข้าวสมัยก่อนประวัติศาสตร์ชายฝั่งทะเล นอกจากนี้ยัง
พบหลักฐานคล้ายดอกข้าวป่าเมืองไทยที่ถ้ำเขาทะลุ จังหวัดกาญจนบุรี อายุประมาณ 2,800 ปี (อาจจะก่อนหน้าหรือหลังจากนั้นประมาณ 300 ปี) ซึ่งเป็นช่วงรอยต่อยุคหินใหม่ตอนปลายกับยุคโลหะตอนต้นส่วนหลักฐานภาพเขียนบนผนังถ้ำหรือผนังหินอายุไม่น้อยกว่า 2,000 ปี ที่ผาหมอนน้อย บ้านตากุ่ม ตำบลห้วยไผ่ อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี บันทึกการปลูกธัญพืชอย่างหนึ่ง มีลักษณะเหมือนข้าว ภาพควายแปลงพืชคล้ายข้าวอาจตีความได้ว่ามนุษย์สมัยนั้นรู้จักข้าวหรือการเพาะปลูกข้าวแล้วศาสตราจารย์ชิน อยู่ดี สรุปไว้เมื่อ ปี พ.ศ. 2535 ว่าประเทศไทยทำนาปลูกข้าวมาแล้วประมาณ 5,471 ปี (นับถึง ปี พ.ศ. 2514) ก่อนการปลูกข้าวในประเทศจีนหรืออินเดียราว 1,000 ปี ผลของการขุดค้นที่โนนนกทาสนับสนุนสมมติฐานที่ว่าข้าวเริ่มปลูกในทวีปเอเชียอาคเนย์ในสมัยหินใหม่ จากนั้นแพร่ขึ้นไปที่ประเทศอินเดียประเทศจีน ประเทศญี่ปุ่น และประเทศเกาหลี

วันพุธที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ข้าวที่จดลิขสิทธิ์


นางพวงรัตน์ อัศวพิศิษฐ์ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา เปิดเผยว่า
ได้ยื่นจดทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (จีไอ) ข้าวหอมมะลิ ทุ่งกุลาร้องไห้ ต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญาแห่งสหภาพยุโรปแล้ว เมื่อวันที่ 18 พ.ย.ที่ผ่านมา เพื่อให้พันธุ์ข้าวไทยได้รับความคุ้มครองภายใน สมาชิกยุโรป 27 ประเทศ และไม่ให้ผลิตภัณฑ์ของไทย ถูกลอกเลียนแบบจนเกิดปัญหาเหมือนที่ผ่านมา รวมถึงช่วยประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ ข้าวหอมมะลิและอาหารไทยให้เป็นที่รู้จักในยุโรปมากขึ้น
ทั้งนี้การจดทะเบียนจีไอข้าวหอมมะลิกุ้งกุลาร้องไห้ ถือเป็นการจดทะเบียนจีไอรายการแรกของประเทศไทย ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาพิจารณา 1-2 ปี ในการตรวจสอบแหล่งกำเนิดคุณภาพตามหลักเกณฑ์มาตรฐาน ก่อนจะประกาศใช้ได้ และเมื่อผ่านการจดทะเบียนแล้วผู้อื่นที่ไม่ได้อยู่ในชุมชนทุ่งกุลาร้องไห้จะไม่สามารถเอาชื่อข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ ไปใช้ประชาสัมพันธ์สินค้าของตนเองได้ เพราะจะถือว่าละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของชุมชนทุ่งกุลาร้องไห้ทันที
“จีไอจะช่วยสร้างการรับรู้ของผู้บริโภค อียูให้รู้จักข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้มากขึ้น และช่วยเพิ่มมูลค่าทางการค้าด้วย เพราะต่อไปหากไทยส่งออกข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้จะต้องส่งออก แบบบรรจุถุง แล้วระบุข้างถุงว่าเป็นข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ ต่างจากเดิมที่ส่งออกเป็นกอง ๆ ซึ่งขายไม่ค่อยได้ราคา นอกจากนี้กรมกำลังเจรจากับร้านเลอโน้ต ซึ่งจำหน่ายขนมหวานชื่อดังของฝรั่งเศสให้นำสินค้าจีไอของไทยไปเป็นส่วนผสมทำขนมหวาน และระบุในสูตร ทำขนมด้วยว่าเป็นสินค้าจีไอจากไทย รวมทั้งจะร่วมมือกับกรมการค้าต่างประเทศ เชิญผู้นำเข้า ข้าวของไทยมาดูแหล่งผลิตและขั้นตอนก่อนการ จำหน่ายจริงด้วย”
นอกจากนี้แผนอนาคตกรมมีเป้าหมายยื่นจดทะเบียนในปีต่อไปอีกหลายรายการ อาทิ
กาแฟดอยตุง จ.เชียงราย กาแฟดอยช้าง จ.เชียงราย สับปะรดภูแล จ.เชียงราย มะขามหวาน จ.เพชรบูรณ์ เป็นต้น เพื่อเป็นการรักษาลิขสิทธิ์สินค้าไทย พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์อาหารไทยให้เป็นที่รู้จัก โดยเฉพาะในยุโรปที่กำลังนิยมบริโภคอาหารไทยจำนวนมาก
“กระแสบริโภคอาหารไทยกำลังได้รับความนิยมมากขึ้น แต่การเข้าถึงอาจยังไม่มากนัก ซึ่งหลังจากได้ขึ้นทะเบียนในยุโรปและมีการจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์ต่อเนื่องแล้ว จะช่วยเพิ่มมูลค่าการค้าในสินค้าได้ และช่วยกระตุ้นให้มีการยื่นจดทะเบียนคุ้มครองแหล่งกำเนิดภูมิปัญญา พื้นฐานของไทยได้อีกในอนาคต”
ทั้งนี้ได้จัดทำแผนการผลักดันการ ใช้ประโยชน์จากโครงการแปลงสินทรัพย์ทางปัญญาเป็นทุน เพื่อส่งเสริมธุรกิจใหม่ และประคองธุรกิจเก่าที่มีศักยภาพแต่ขาดแคลนสภาพคล่องด้วย.

ตัวอย่างพันธุ์ข้าวไทย


ชื่อพันธุ์กข5 (RD5)ชนิดข้าวเจ้าคู่ผสมพวงนาค 16 / ซิกาดิสประวัติพันธุ์ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์พวงนาค 16 ของไทยกับพันธุ์ซิกาดิส ของอินโดนีเซีย ได้ผสมพันธุ์และคัดพันธุ์แบบสืบตระกูลที่สถานีทดลองข้าวบางเขน เมื่อปี พ.ศ.2508 จนได้สายพันธุ์ BKN6517-9-2-2การรับรองพันธุ์คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ให้ใช้ขยายพันธุ์เป็นพันธุ์รับรองเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2516ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเจ้าต้นสูง สูงประมาณ 145 เซนติเมตรเป็นพันธุ์ข้าวไวต่อช่วงแสงเล็กน้อย เหมาะที่จะปลูกเป็นข้าวนาปี ถ้าปลูกตามฤดูกาลจะเก็บเกี่ยวได้ปลายเดือนพฤศจิกายน แต่ถ้าปลูกในฤดูนาปรังหรือไม่ปลูกตามฤดูกาล อายุจะอยู่ระหว่าง 140-160 วัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเดือนที่ลำต้นสีม่วง มีรวงยาว ต้นแข็งไม่ล้มง่ายปลูกระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 6 สัปดาห์เมล็ดข้าวเปลือกสีฟางก้นจุดท้องไข่น้อย

ชื่อพันธุ์ ปทุมธานี 1 (Pathum Thani 1)ชนิดข้าวเจ้าคู่ผสม BKNA6-18-3-2 / PTT85061-86-3-2-1ประวัติพันธุ์ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างสายพันธุ์ BKNA6-18-3-2 กับสายพันธุ์ PTT85061-86-3-2-1 ที่ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี ในปี พ.ศ. 2533 ปลูกคัดเลือกจนได้สายพันธุ์ PTT90071-93-8-1-1การรับรองพันธุ์คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรองเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2543ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 104-133 เซนติเมตรไม่ไวต่อช่วงแสงอายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 104-126 วันทรงกอตั้ง ใบสีเขียวมีขน กาบใบและปล้องสีเขียว ใบธงยาว ทำมุม 45o กับคอรวง รวงอยู่ใต้ใบธงเมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง มีขน มีหางเล็กน้อยระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 3-4 สัปดาห์เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.1 x 7.6 x 1.7 มิลลิเมตรปริมาณอมิโลส 15-19 %คุณภาพข้าวสุก นุ่มเหนียว มีกลิ่นหอมอ่อน


ชื่อพันธุ์ชัยนาท 2 (Chai Nat 2)ชนิดข้าวเจ้าคู่ผสมหอมพม่า (GS.No.3780 ) / IR11418-19-2-3ประวัติพันธุ์ได้จาการผสมพันธุ์แบบผสมเดี่ยวระหว่างข้าวเจ้าพันธุ์หอมพม่า (GS.No. 3780) ซึ่งเป็นข้าวหอมพันธุ์พื้นเมืองจากจังหวัดกาญจนบุรี กับสายพันธุ์ IR11418-19-2-3 จากสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ (IRRI) ที่สถานีทดลองข้าวชัยนาท ใน พ.ศ.2530 ปลูกคัดเลือกพันธุ์แบบสืบตระกูล จนได้สายพันธุ์ CNT87040-281-1-4การรับรองพันธุ์คณะกรรมการบริหาร กรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2547ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 83 - 95 เซนติเมตรไม่ไวต่อช่วงแสงอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 103 – 105 วันทรงกอแบะ ใบสีเขียวเข้ม ใบธงเป็นแนวนอน รวงแน่นปานกลาง ระแง้ถี่ คอรวงยาว ต้นแข็ง ไม่ล้ม ใบค่อนข้างแก่เร็วเมล็ดข้าวเปลือกสีฟางเพิ่มรูปภาพ



ชื่อพันธุ์ชัยนาท 1 (Chai Nat 1)ชนิดข้าวเจ้าคู่ผสม IR13146-158-1 / IR15314-43-2-3-3 // BKN6995-16-1-1-2ประวัติพันธุ์ได้จากการผสม 3 ทาง ระหว่างสายพันธุ์ IR13146-158-1 และสายพันธุ์ IR15314-43-2-3-3 กับ BKN6995-16-1-1-2 ที่สถานีทดลองข้าวชัยนาท เมื่อ พ.ศ. 2525 ปลุกคัดเลือกจนได้สายพันธุ์ CNTBR82075-43-2-1การรับรองพันธุ์คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรองเมื่อวันที่9 กันยายน 2536ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 113 เซนติเมตรไม่ไวต่อช่วงแสงอายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 121-130 วันทรงกอตั้ง ใบสีเขียว ใบธงค่อนข้างยาวตั้งตรง คอรวงสั้น รวงยาวและแน่น ระแง้ค่อนข้างถี่ ฟางแข็งเมล็ดข้าวเปลือกสีฟางระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 8 สัปดาห์เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.1 x 7.7 x 1.7 มิลลิเมตรปริมาอุณหภูมิโลส 26-27 %คุณภาพข้าวสุก ร่วน แข็ง


ชื่อพันธุ์ ข้าวเจ้าหอมสุพรรณบุรี (Khao' Jow Hawm Suphan Buriชนิดข้าวเจ้าคู่ผสม SPR84177-8-2-2-2-1 / SPR85091-13-1-1-4 // ขาวดอกมะลิ 105ประวัติพันธุ์ได้จากการผสม 3 ทางระหว่างlสายพันธุ์ SPR84177-8-2-2-2-1 และ SPR85091-13-1-1-4 กับพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ที่สถานีทดลองข้าวสุพรรณบุรี เมื่อปี พ.ศ.2532 ปลูกคัดเลือกจนได้สายพันธุ์ SPR89111-17-2-2-2-2การรับรองพันธุ์คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์แนะนำเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2540ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 126 เซนติเมตรไม่ไวต่อช่วงแสงอายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 120 วันทรงกอตั้ง ฟางแข็ง ใบสีเขียว ใบธงตั้งตรง รวงยาวและคอรวงยาวเมล็ดข้าวเปลือกสีฟางระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 3-4 สัปดาห์เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.1 x 7.7 x 1.8 มิลลิเมตรปริมาณอมิโลส 18-19 %คุณภาพข้าวสุก นุ่มเหนียวและหอม

ชื่อพันธุ์ข้าวเจ้าหอมคลองหลวง 1 (Khao’ Jow Hawm Khlong Luang 1)ชนิดข้าวเจ้าคู่ผสมนางมล เอส-4 / ไออาร์841-85-1-1-2ประวัติพันธุ์ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์นางมล เอส-4 กับสายพันธุ์ไออาร์841-85-1-1-2 ที่สถานีทดลองข้าวคลองหลวง ปลูกคัดเลือกจนได้สายพันธุ์ KLG83055-1-1-1-2-1-4การรับรองพันธุ์ คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2540ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 110 เซนติเมตรไม่ไวต่อช่วงแสงอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 118 วัน เมื่อปลูกในฤดูนาปรัง และ 125 วัน ในฤดูนาปีทรงกอตั้ง ฟางแข็ง ใบสีเขียว ใบธงยาวปานกลาง และ ค่อนข้างตั้ง คอรวงสั้น รวงยาวแน่น และระแ้ง้ถี่เมล็ดข้าวเปลือกสีฟางระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 5-6 สัปดาห์เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.3 x 7.8 x 1.8 มิลลิเมตรปริมาณอมิโลส 18-19 %คุณภาพข้าวสุก นุ่มเหนียวและหอม



ชื่อพันธุ์กข25 (RD25)ชนิดข้าวเจ้าคู่ผสม ขาวดอกมะลิ 105 / ไออาร์2061-213-2-3-3 // ขาวดอกมะลิ 105 / ไออาร์ 26ประวัติพันธุ์ได้จากการผสมซ้อนระหว่างคู่ผสมของพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และพันธุ์ไออาร์2061-213-2-3-3 กับคุ่ผสมของพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 กับไออาร์26 ที่สถานีทดลองข้าวบางเขน เมื่อ พ.ศ.2518 ปลูกคัดเลือกที่สถานีทดลองข้าวชัยนาท และสถานีทดลองข้าวรังสิต จนได้สายพันธุ์ BKNLR75091-CNT-B-RST-40-2-2การรับรองพันธุ์คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตรให้ใช้ขยายพันธุ์เป็นพันธุ์รับรองเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2524ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 100 เซนติเมตรไม่ไวต่อช่วงแสงอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 90 - 100 วันลำต้นตั้งตรง ฟางค่อนข้างแข็ง ใบสีเขียวอ่อน รวงอยู่ใต้ใบข้าวเปลือกสีฟางระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 4 สัปดาห์ท้องไข่ปานกลางเมล็ดข้างกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.2 x 7.3 x 1.7 มิลลิเมตรปริมาณอมิโลส 25 %คุณภาพข้าวสุก ร่วน นุ่ม

ชื่อพันธุ์กข23 (RD23)ชนิดข้าวเจ้าคู่ผสมกข7 / ไออาร์32 // กข1ประวัติพันธุ์ได้จากการผสม 3 ทางระหว่าง กข7 และ ไออาร์32 กับ กข1 ที่สถานีทดลองข้าวสุพรรณบุรี เมื่อปี พ.ศ.2521 แล้วปลูกคัดเลือกจนได้สายพันธุ์ SPRLR76002-168-1-4การรับรองพันธุ์คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร ให้ใช้ขยายพันธุ์เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2524ลักษณะประจำพันธุ์ เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 115-120 เซนติเมตรไม่ไวต่อช่วงแสงอายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 125 วันลำต้นและใบมีสีเขียวอ่อน ใบธงตั้ง และค่อนข้างยาว รวงอยู่ใต้ใบ แตกกอดีข้าวเปลือกสีฟางระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 5 สัปดาห์ท้องไข่น้อยปริมาณอมิโลส 25-30 %คุณภาพข้าวสุก ร่วน นุ่มเมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.2 x 7.3 x 1.8 มิลลิเมตร



ชื่อพันธุ์กข21 (RD21)ชนิดข้าวเจ้าคู่ผสมขาวดอกมะลิ 105 / นางมลเอส-4 // ไออาร์26ประวัติพันธุ์ได้จากการผสม 3 ทางระหว่างขาวดอกมะลิ 105 และ นางมล เอส -4 กับ ไออาร์26 ที่สถานีทดลองข้าวสุพรรณบุรี เมื่อพ.ศ.2517ปลูกคัดเลือกที่สถานีทดลองข้าวสุพรรณบุรี จนได้สายพันธุ์ SPR7419-86-2-5 ซึ่งเป็น พันธุ์แรกที่ต้านทานโรคใบหงิกและให้ผลผลิตค่อนข้างสูงการรับรองพันธุ์คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตรให้ใช้ขยายพันธุ์เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 252ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 100-125 เซนติเมตรไม่ไวต่อช่วงแสงอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 120-130 วันลำต้นใหญ่ แต่ค่อนข้างอ่อน รวงแน่น อยู่ใต้ใบธงเมล็ดข้าวเปลือกสีฟางกระน้ำตาลระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 4 สัปดาห์ท้องไข่น้อยเมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.3 x 7.3 x 1.8 มิลลิเมตรปริมาณอมิโลส 17-20 %คุณภาพข้าวสุก นุ่ม


ชื่อพันธุ์ กข11 (RD11ชนิดข้าวเจ้าคู่ผสมไออาร์661 / ขาวดอกมะลิ 105ประวัติพันธุ์ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์ไออาร์661 กับพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 เมื่อปี พ.ศ.2512 ที่สถานีทดลองข้าวหันตรา แล้วนำมาคัดเลือกที่สถานีทดลองข้าวบางเขน คัดจนได้พันธุ์ผสมเบอร์ ดับเบิ้ลยูพี153การรับรองพันธุ์คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตรให้ใช้ขยายพันธุ์เป็นพันธุ์รับรองเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2520ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 115 เซนติเมตรไม่ไวต่อช่วงแสงทรงกอตั้งตรงสีเขียวเข้ม ฟางแข็ง ใบธงยาวปานกลาง แตกกอมากเมล็ดข้าวเปลือกสีฟางอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 135 วันท้องไข่ปานกลางระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 4 สัปดาห์เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.37 x 7.6 x 1.8 มิลลิเมตรปริมาณอมิโลส 29-32 %คุณภาพข้าวสุก ร่วน แข็ง

ชื่อพันธุ์กข10 (RD10)ชนิดข้าวเหนียวประวัติพันธุ์ ได้จากการปรับปรุงพันธุ์ โดยการชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์ โดยใช้รังสีนิวตรอนเร็ว ปริมาณ 1 กิโลแรด อาบเมล็ดข้าวพันธุ์ กข1 เมื่อปี พ.ศ.2512 ปลูกคัดเลือกที่สถานีทดลองข้าวบางเขน จนได้สายพันธุ์ RD1'69-NF1U-G6-6 หลังจากนั้นได้นำไปปลูกเปรียบเทียบผลผลิตที่สถานีทดลองข้าวในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือการรับรองพันธุ์คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร ให้ใช้ขยายพันธุ์เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2524ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเหนียว สูงประมาณ 115 เซนติเมตรไม่ไวต่อช่วงแสงอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 130 วันทรงกอตั้งตรง ลำต้นสีเขียวเข้ม ใบค่อนข้างกว้าง รวงอยู่ใต้ใบธงระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 5 สัปดาห์เมล็ดข้าวเปลือกสีฟางเมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.3 x 7.6 x 1.8 มิลลิเมตรคุณภาพข้าวสุก เหนียวนุ่ม

วันพฤหัสบดีที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2552

เรื่องของ HARDDISK

HARDDISK

คอมพิวเตอร์มีส่วนที่สำคัญคือ ส่วนประมวลผล ส่วนรับข้อมูล และก็ส่วนแสดงผล แต่ก่อนที่คอมพิวเตอร์จะนำข้อมูลมาประมวลผลก็ต้องมีข้อมูล ซึ่งข้อมูลนั้นจะต้องถูกนำมาจากที่แห่งหนึ่งนั้นก็คือส่วนที่เรียกว่า Storage ซึ่งคอมพิวเตอร์ในยุคแรกจะเป็นกระดาษที่เป็นรู ซึ่งใช้งานยาก จากนั้นได้พัฒนามาใช้ แผ่นพลาสติกที่เครื่องด้วยสารแม่เหล็ก ที่เรียกว่า Diskette ต่อมาเมื่อข้อมูลมากขึ้นจำนวนการเก็บข้อมูลก็มากขั้นทำให้การเก็บข้อมูลลงบนแผ่น Diskette นั้นไม่เพียงพอ ต่อมาก็ทำการพัฒนามาเป็น Hard Disk ในปัจจุบัน ระบบของ Hard disk ต่างจากแผ่น Diskette โดยจะมีจำนวนหน้าในการเก็บข้อมูลมากกว่า 2 หน้า ในการเก็บข้อมูลของ Hard Disk นั้นก็ไม่ต่างกับการเก็บข้อมูลลงบน Diskette ทั่วไปมากนัก Hard Disk ส่วนใหญ่ประกอบด้วยแผ่นจานแม่เหล็กมากกว่า 2แผ่นเรียงกันอยู่บนแกน Spindle ทำให้แผ่นแม่เหล็กหมุนไปพร้อมๆกัน Hard Disk ใช้หัวอ่านเพียงหัวเดียวในการทำงาน ทั้งอ่านและเขียนข้อมูล ในการเขียนข้อมูลหัวอ่านจะได้รับกระแสไฟฟ้าผ่านเข้าสู่คอยล์ของหัวอ่าน เพื่อรับข้อมูล เป็นการแปลงความหนาแน่นของสารแม่เหล็กที่เคลือบอยู่บน Disk ออกมาให้กับ CPU เพื่อทำการประมวลผล ส่วนการเก็บข้อมูล จะเก็บอยู่ในรูปแบบของสัญญาณดิจิตอล โดยเก็บเป็นเลขฐาน 2 คือ 0 และ 1 การเก็บข้อมูลจะเริ่ม

Seek Time เป็นระยะเวลาที่แกนยืดหัวอ่านเขียน Hard Disk เคลื่อนหัวอ่านเขียนไประหว่างแทร็คของข้อมูลบน Hard Disk ซึ่งในปัจจุบัน Hard Disk จะมีแทร็คข้อมูลอยู่ประมาณ 3,000 แทร็คในแต่ละด้านของแพล็ตเตอร์ ขนาด 3.5 นิ้ว ความสามารถในการเคลื่อนที่ จากแทร็คที่อยู่ไปยังข้อมูลในบิตต่อไป อาจเป็นการย้ายตำแหน่งไปเพียง อีกแทร็คเดียวหรืออาจย้ายตำแหน่งไปมากกว่า 2,999 แทร็คก็เป็นได้ Seek time จะวัดโดยใช้หน่วยเวลาเป็น มิลลิเซก (ms) ค่าของ Seek time ของการย้ายตำแหน่งของแขนยึดหัวอ่านเขียน ไปในแทร็คถัดไปในแทร็คที่ อยู่ติดๆกันอาจใช้เวลาเพียง 2 ms ในขณะที่การย้ายตำแหน่งจากแทร็คที่อยู่นอกสุดไปหาแทร็คที่อยู่ในสุด หรือ ตรงกันข้ามจะต้องใช้เวลามากถึงประมาณ 20 ms ส่วน Average seek time จะเป็นค่าระยะเวลาเฉลี่ย ในการย้ายตำแหน่ง ของหัวเขียนอ่านไปมาแบบสุ่ม (Random) ในปัจจุบันค่า Average seek time ของ Hard Disk จะอยู่ ในช่วงตั้งแต่ 8 ถึง 14 ms แม้ว่าค่า seek จะระบุเฉพาะคุณสมบัติในการทำงานเพียง ด้านกว้างและยาวของ แผ่นดิสก์ แต่ค่า Seek time มักจะถูกใช้ในการเปรียบเทียบ คุณสมบัติทางด้านความ เร็วของ Hard Disk ปกติจะเรียกรุ่นของ Hard Disk ตามระดับความเร็ว Seek ค่า Seek time ยังไม่สามารถแสดงให้ประสิทธิภาพทั้งหมดของ Hard Disk ได้ จะแสดงให้เห็นเพียงแต่การค้นหาข้อมูลในแบบสุ่ม ของตัว Drive เท่านั้น ไม่ได้แสดงในแง่ของ การอ่านข้อมูลแบบเรียงลำดับ (sequential)

Cylinder Switch Time เวลาในการสลับ Cylinder สามารถเรียกได้อีกแบบว่าการสลับแทร็ค (track switch) ในกรณีนี้แขนยึดหัวอ่านเขียนจะวางตำแหน่งของหัวอ่านเขียนอยู่เหนือ Cylinder ข้อมูลอื่น ๆ แต่มีข้อแม้ว่า แทร็คข้อมูลทั้งหมดจะต้องอยู่ใน ตำแหน่งเดียวกันของแพล็ตเตอร์อื่น ๆ ด้วย เวลาในการสลับระหว่าง Cylinder จะวัดด้วยระยะเวลาเฉลี่ยที่ตัว ไดร์ฟใช้ในการสลับจาก Cylinder หนึ่งไปยัง Cylinder อื่น ๆ เวลาในการสลับ Cylinder จะวัดด้วยหน่วย ms

Head Switch Time เป็นเวลาสลับการทำงานของหัวอ่านเขียน แขนยึด หัวอ่านเขียนจะเคลื่อนย้ายหัวอ่านเขียนไปบนแพล็ตเตอร์ที่อยู่ในแนวตรงกัน หัวอ่านเขียนเพียงหัวเดียวทำหน้าที่อ่านหรือบันทึกข้อมูลในเวลาใดเวลาหนึ่ง ระยะเวลาในการสลับกันทำงานของหัวอ่านเขียนจะวัดด้วยเวลาเฉลี่ยที่ตัวไดร์ฟใช้สลับ ระหว่างหัวอ่านเขียน สองหัวในขณะ อ่านบันทึกข้อมูล เวลาสลับหัวอ่านเขียนจะวัดเป็นหน่วย ms

Rotational Latency เป็นช่วงเวลาที่คอยการหมุนของแผ่นดิสก์ภายในการหมุนภายใน Hard Disk เกิดขึ้นเมื่อหัวอ่านเขียนวางตำแหน่งอยู่เหนือแทร็คข้อมูลที่เหมาะสม ระบบการทำงานของหัวอ่านเขียนข้อมูลจะรอให้ตัวไดร์ฟ หมุนแพล็ตเตอร์ไปยังเซ็กเตอร์ที่ถูกต้อง ช่วงระยะเวลาที่รอคอยนี้เองที่ถูกเรียกว่า Rotational Latency ซึ่งจะวัดเป็นหน่วย ms แต่ระยะเวลาก็ขึ้นอยู่กับ RPM (จำนวนรอบต่อนาที)


การควบคุม Hard Disk Hard Disk จะสามารถทำงานได้ต้องมีการควบคุมจาก CPU โดยจะมีการส่งสัญญาณการใช้งานไปยัง Controller Card ซึ่ง Controller Card แบ่งออกได้ประมาณ 5 ชนิด ซึ่งจะกล่าวถึงเพียง 3 ชนิดที่ยังคงมีและใช้อยู่ในปัจจุบัน

IDE (Integrated Drive Electronics) ระบบนี้มีความจุใกล้เคียงกับแบบ SCSI แต่มีราคาและความเร็วในการขนย้ายข้อมูลต่ำกว่า ตัวควบคุม IDE ปัจจุบันนิยมรวมอยู่ในแผงตัวควบคุม

รูปแสดง Slot IDE บนแผงวงจร Mainboard

SCSI (Small Computer System Interface) เป็น Controller Card ที่มี Processor อยู่ในตัวเองทำให้เป็นส่วนเพิ่มขยายกับแผงวงจรใหม่ ใช้ควบคุมอุปกรณ์เสริมอื่นที่เป็นระบบ SCSI ได้ เช่น Modem CD-ROM Scanner และ Printer ใน Card หนึ่งๆจะสนับสนุนการต่ออุปกรณ์ได้ถึง 8 ตัว

รูปแสดง อุปกรณ์ Hard Disk ที่เป็น SCSI

Serial ATA (Advanced Technology Attachment)

เปิดตัวครั้งแรกในวันที่ 26 มิถุนายน 2545 งาน PC Expo ใน New York ประเทศสหรัฐอเมริกา หลังจากที่มีการนำเสนอ Parallel ATA มากว่า 20 ปี รวมถึงเทคโนโลยีอื่นๆที่ทำให้การอ่านข้อมูลได้เร็วขึ้น วันนี้บริษัท Intel Seagate และบริษัทอื่นๆ คอยช่วยกันพัฒนาให้เกิดเทคโนโลยี Serial ATA ขึ้นมาแทนที่ Serial ATA มีความเร็วในเข้าถึงข้อมูลถึง 150 Mbytes ต่อ วินาที และให้ผลตอบสนองในการทำงานได้เร็วมากในส่วนของ extreme application เช่น Game Home Video และ Home Network Hub มีจำนวน pin น้อยกว่า Parallel ATA Serial ATA II ของทาง Seagate คาดว่าจะออกวางตลาดภายในปี 2546 และจะทำงานได้กับ Serial ATA 1.0 ทั้งทางด้าน products และ maintain software


รูปแสดง สายสัญญาณแบบ Serial ATA

การบำรุงรักษา

การ Defrag ซึ่งก็คือการจัดเรียงข้อมูลใน Hard Disk เสียใหม่เพื่อให้ Hard Disk ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด ทุกครั้งที่เราเขียนข้อมูล ไม่ว่าจะด้วยการติดตั้งโปรแกรมใหม่ หรือว่าใช้คำสั่ง Save จากโปรแกรมใดๆ ก็ตาม หรือการ Download ข้อมูล Program จาก Internet รวมไปถึงการ Copy ข้อมูลลงไปใน Hard Disk นั้น สิ่งที่เครื่อง คอมพิวเตอร์ต้องสั่งให้ Hard Disk ทำคือ เขียนข้อมูลเหล่านั้นลงไปบนพื้นที่ว่างบน Hard Disk ซึ่งการเขียนข้อมูลของ Hard Disk นั้นจะไม่เหมือนกับการเขียนข้อมูลในหนังสือหรือกระดาษอย่างที่เราทำกัน แต่โครงสร้างของ Drive จะแบ่งออกเป็นส่วนย่อยๆ เป็นบล็อกอย่างที่เรารู้จักกันคือ Cluster ในการเขียนข้อมูลนั้น เครื่องคอมพิวเตอร์ต้องเข้าไปจองพื้นที่เป็น Cluster โดยที่ไม่สนใจว่าจะใช้เต็มพื้นที่หรือไม่ ถ้าข้อมูลมีขนาดใหญ่เกินไปก็จะใช้พื้นที่หลายๆ Cluster ซึ่งจะว่าไปแล้วในตอนแรกนั้นข้อมูลก็ยังคงจะเรียงกันอย่างเป็นระเบียบอยู่อย่างที่ควรจะเป็น แต่ว่าเมื่อมีการใช้งานหนักเข้าเรื่อยๆ โดยเฉพาะ Application ต่างๆ บนวินโดวส์จำเป็นต้องมีการเปิด File หลายๆ File พร้อมกัน รวมทั้งมีการเขียนและลบ File บ่อยๆ จะทำให้ข้อมูลกระจายออกไป

สัปดาห์ที่ 5 วันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ.2552

ใส่รหัส ascii ของชื่อนักเรียน
Ruksit = 001001010101011110110110001101111001011001000111
Thangngam = 010001011000011000010110111001100111011011100110011101100001011011010110
รักศิต = 001111000001110100011010100011000100110101011011
แต่งงาม = 00011110010110111000111001111010011110100010110100011100

วันพุธที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2552